ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    033128 มรดกคนนนท์18 มกราคม 2552

    คำถาม
    มรดก

    บิดามารดาได้แบ่งที่ดินให้บุตร 7 คน ต่อมาบิดา และบุตรคนที่ 2 เสียชีวิตโดยที่บุตรชายคนที่ 2 ยังไม่มีภรรยาและบุตร ขอเรียนถามว่า

    1. ที่ดินดังกล่าวจะตกเป็นของใคร

    2. ถ้าบุตรอีก 6 คนประสงค์จะให้เป็นของมารดาคนเดียวได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ

    3. หรือถ้ามารดาต้องการยกให้บุตรคนใดคนหนึ่งได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ

     

    ขอบคุณค่ะ

    คำตอบ

    1. ถ้าการแบ่งที่ดินนั้นโอนให้กันเรียบร้อยแล้ว ที่ดินนั้นอยู่ในชื่อของใครก็เป็นของคนนั้น  ถ้าบิดาตาย หากยังมีทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ และไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินนั้นก็ตกได้แก่ภรรยาและลุก ๆ ทั้ง ๗ คน  (หลังจากแบ่งครึ่งเพื่อคืนสินสมรสให้แก่มารดาก่อนแล้ว) หากลูกคนหนึ่งตายไปก่อนบิดา และไม่มีบุตรเขาก็ไม่ได้รับมรดกนั้น

    2. ถ้าจะคืนที่ดินให้แก่มารดา ก็ต้องไปโอนคืนให้มารดา แต่ถ้าที่ดินนั้นยังไม่ได้โอนให้แก่ลูก ๆ ก็ร่วมกันร้องขอต่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกร่วมกัน แล้วโอนให้มารดา

    3. ถ้าบิดาตายมรดกส่วนของบิดาย่อมตกได้แก่ทายาทตามกฎหมาย คนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ (มารดา) จะเที่ยวได้ยกให้ใครไม่ได้

      คำถามนี้ถามเหมือนรู้เรื่องกฎหมายมรดกอย่างดี จึงตอบไปตามที่ถามมา  ซึ่งไม่น่าจะใช้ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  ควรรู้เป็นเบื้องต้นว่า การยกที่ดินให้นั้นต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจึงจะมีผล ถ้าเพียงแต่เคยเปรย ๆ ไว้ ยังไม่ถือว่าเป็นการยกให้ ทรัพย์สินยังเป็นของบิดามารดาอยู่  นอกจากนั้น ทรัพย์สินที่บิดามีอยู่นั้น ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ซื้อหามาในระหว่างที่สมรสกับมารดา ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินสมรส เมื่อฝ่ายหนึ่งตาย ทรัพย์สินนั้นก็ต้องแบ่งครึ่งระหว่างสามีภรรยาก่อน ครึ่งของผู้ตายจึงจะเรียกว่ามรดกของผู้ตาย ซึ่งถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้จะตกได้แก่คู่สมรสและบุตรทุกคน ๆ ละเท่า ๆ กัน ลองเอาหลักนี้ไปพิจารณาดูเถอะ

    2.


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 มกราคม 2552