ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    033119 มรดกPat17 มกราคม 2552

    คำถาม
    มรดก

        คุณพ่อเสียชีวิตปี 50      เมื่อปี 33 คุณพ่อเขียนหนังสือด้วยตนเองมอบให้ดิฉัน ใจความระบุให้ดิฉันมีสิทธิ์ร่วมกับคุณแม่ในการทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับบ้านและที่ดิน

         ต้นปี 51 คุณแม่ได้มอบอำนาจให้บุตรสะใภ้เขียนหนังสือมอบทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของคุณแม่ให้กับดิฉันทั้งหมด ส่วนอีกครึ่งหนึ่งให้กับบุตรทั้ง 4 คนคนละหนึ่งส่วน(รวมดิฉันด้วย)โดยมีลายเซ็นคุณแม่กำกับตามความสำคัญประมาณ 6 ที่แต่ไม่มีลายเซ็นพยานเลย อยากเรียนถามอาจารย์หนังสือทั้ง 2 ฉบับมีผลอย่างไรบ้าง และหากบุตรคนอื่นไม่ยินยอม จะมีสิทธิ์คัดค้านหรือไม่

    คำตอบ

    1 หนังสือที่พ่อเขียน ถ้ามีข้อความอย่างที่บอกมา ก็ไม่ใช่เป็นนิติกรรม เพราะเป็นเพียงการมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น

    2. ถ้าแม่ยังอยู่ การที่แม่จะยกทรัพย์สินของแม่ (ไม่รวมถึงส่วนที่เป็นของพ่อ) ให้ใคร ก็เป็นสิทธิโดยเด็ดขาดของแม่ ลูกหรือใครก็ไม่ยินยอมไม่ได้  แต่ส่วนที่เป็นทรัพย์สินของพ่อ (ครึ่งหนึ่งของสินสมรส) ถ้าไม่ได้มีพินัยกรรมไว้ ก็ย่อมต้องตกได้แก่ลูก ๆ กับแม่ คนละเท่า ๆ กัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 มกราคม 2552