ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    032950 สิทธิในการครอบครองที่ดินมรดกสมบูรณ์หรือไม่ศิริพร8 มกราคม 2552

    คำถาม
    สิทธิในการครอบครองที่ดินมรดกสมบูรณ์หรือไม่

    เรียน อาจารย์มีชัย

    เนื่องจากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิในการครอบครองที่ดินมรดก ค่ะ  จึงขอรบกวนให้อาจารย์ช่วยกรุณาตอบข้อคำถามที่สงสัยด้วยค่ะ 

    เมื่อปี 2523 ยายได้เสียชีวิตลง และต่อมาปี 2537 ตาได้เสียชีวิตลง  ตา-ยาย มีลูกด้วยกัน 5 คน  ลุง1  ป้า2  ลุง3  ลุง4(เสียชีวิตแล้ว ไม่มีภรรยา ไม่มีบุตร)  และแม่

    ช่วงที่ตา-ยาย ยังมีชีวิตอยู่เป็นที่รู้กันในพี่น้องส่วนใหญ่ ว่าจะยกที่ดินแปลง A ให้แก่แม่ของดิฉัน  โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ เป็นการบอกด้วยวาจา และรับรู้ในหมู่พี่น้องส่วนใหญ่  และที่ดินแปลง B ยกให้ลุง1  ส่วนที่ดินแปลงอื่น ๆ ตา-ยายได้มีการโอนกรรมสิทธิให้ลูก ๆ คนละเท่าๆ กัน

    เมื่อยายเสียชีวิตลง  ป้า2 มีปัญหากับพี่น้องประกาศตัดพี่น้อง  แต่ต่อมาภายหลังได้ปรับความเข้าใจกันได้

    ปัจจุบัน ที่ดินแปลง A เป็นฉโนด ชื่อของแม่ดิฉันแล้ว ตั้งแต่ปี 2537 และที่ดินแปลง B เป็นฉโนด ชื่อของลุง1 แล้ว ตั้งแต่ปี 2536  (เดิมที่ดินทั้ง 2 แปลง เป็น นส.3)

    ตอนที่ลุง1 นำที่ดินแปลง A ไปทำเป็นฉโนด  ได้ระบุชื่อดิฉันเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันด้วย  จึงทำให้ฉโนดมี 2 ชื่อตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา

    ปัจจุบัน ลุง1 เสียชีวิตลงเมื่อปี  ธ.ค. 2551 และไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นที่รู้กันในหมู่ญาติพี่น้อง  และคนในหมู่บ้าน  ว่าลุง1 จะยกที่ดินนี้ให้ดิฉัน  ดังนั้นดิฉันจึงได้ไปดำเนินการโอนที่ดินกับป้าสะใภ้(ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายของลุง1. แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน)  ทางกรมที่ดินจึงแจ้งว่า ต้องให้ทายาทลำดับที่ 3 มาสละมรดกด้วยเพราะลุง1 ไม่มีบุตร ทายาทลำดับ3 ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกนี้ ตามส่วนด้วย 

    ปัญหาจึงเริ่มต้นอีกครั้ง  โดยที่ป้า2 ได้เริ่มอ้างสิทธิที่ตนเองจะได้รับ  โดยให้เหตุผลว่าเดิมที่ดิน แปลง A และ B   นั้นหลังจากยายตายแล้ว  ป้า2ก็มีสิทธิที่จะได้รับในฐานะลูกด้วยเหมือนกัน  ถึงแม้ ตา-ยาย จะได้บอกให้ทุกคนรับรู้ว่าจะยกให้ลุง1 และแม่  ก็ตาม เป็นเพียงการให้ด้วยวาจา มันไม่ถูกต้อง   ป้า2 ไม่ได้ยินยอมที่จะยกให้  ลุง1 และแม่  ควรจะแบ่งในส่วนของป้า2 ให้ด้วย   แต่ไม่อยากทวงถามสิทธินั้น  ดังนั้นดิฉันจึงไม่มีสิทธิในฉโนดฉบับนี้ เพราะการที่ลุง1 ไปดำเนินการโอนเป็นกรรมสิทธิเป็นของตนเองนั้นไม่ถูกต้อง ถึงแม้จะได้รับความยินยอมจากตา และพี่น้องคนอื่น ๆ ก็ตาม  (ขณะนั้น ป้า2 ยังไม่ได้ปรับความเข้าใจกับทุกคน)  จึงทำให้สิทธิที่เป็นของลุงไม่ถูกต้อง  ส่งผลให้ดิฉันก็ไม่มีสิทธิในที่ดินแปลง A นี้ด้วย  ถ้าจะให้ป้า2 ไปลงชื่อสละมรดก  ก็ต้องให้ค่าตอบแทนป้า2 ด้วย

    (ประมาณปี 36  ภายหลังที่ลุง1 ระบุชื่อดิฉันในฉโนด  ป้า2 พาลุง1ไปคัดชื่อดิฉันออก  แต่ทางกรมที่ดินไม่สามารถดำเนินการให้ได้  ป้า2 จึงให้ลุง1ไปทำพินัยกรรมขึ้นโดยให้ยกที่ดินแปลงนี้ให้แก่ป้า2  ต่อมาลุง1ได้ไปยกเลิกพินัยกรรมนั้นแล้ว)

    ข้อสงสัยที่ดิฉันอยากทราบและขอความกรุณาช่วยตอบให้ด้วยมีดังนี้ค่ะ

    1.  ที่ดินแปลง A สามารถโอนเป็นกรรมสิทธิของดิฉันได้หรือไม่

    2. ที่ดินแปลง A และ B เป็นกรรมสิทธิของลุง1 และแม่ดิฉัน อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    3. ขั้นตอนที่ถูกต้องในการดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน A มาเป็นของดิฉันอย่างถูกต้องต้องทำอย่างไรบ้าง  และเป็นไปได้หรือไม่

    4. เรื่องดังกล่าวจัดเป็นคดีมรดกใช่หรือไม่  และถ้าเป็นอายุความหมดหรือยัง  และถ้าหากอ้างสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินนั้นมาใช้ได้หรือไม่

    ขอบคุณให้ความกรุณาอย่างสูง

    ศิริพร

    คำตอบ

    เรียน คุณศิริพร

    1.  เมื่อโฉนดที่ดินแปลง เอ เป็นชื่อคุณกับลุง โดยไม่ได้ระบุสัดส่วนว่าใครมีสิทธิเท่าไร ก็ต้องถือว่าต่างฝ่ายต่างมีสิทธิคนละครึ่ง ดังนั้นที่ดินแปลง เอ จึงเป็นของคุณแล้วครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของลุง เมื่อลุงไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่มีเมียหรือลูกไม่มีพ่อแม่ ที่ดินนั้นจึงตกได้แก่แม่ของคุณและบรรดาป้า ๆ ถ้าแม่ของคุณสละสิทธิ ส่วนของแม่ของคุณก็ตกได้แก่คุณ ส่วนบรรดาป้า ๆ ก็ยังมีสิทธิอยู่ มีทั้งหมด(รวมทั้งแม่คุณ) กี่คน ก็เอามาหาร แต่ละคนจะได้มรดกคนละเท่า ๆ กัน

    2. เมื่อเวลาผ่านมาเกิน 10 ปีแล้ว ที่ดินแปลง เอ ก็เป็นกรรมสิทธิของลุงกับคุณ ส่วนแปลง บี ก็เป็นของแม่คุณ

    3. ถ้าทายาท (ป้า ๆ ) คนอื่น ๆ เขาไม่สละสิทธิ คุณก็เอาส่วนของลุงมาไม่ได้ แต่ส่วนของคุณ(ครึ่งหนึ่ง) ก็ยังเป็นของคุณอยู่เช่นเดิม

    4. ที่ดินแปลง เอ ส่วนที่เป็นของลุง ยังไม่หมดอายุความ ทายาทเขายังฟ้องร้องเอาได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 มกราคม 2552