ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    032948 แยกทำพินัยกรรมจันทร์เจ้า8 มกราคม 2552

    คำถาม
    แยกทำพินัยกรรม

    เรียน คุณมีชัย

    รบกวนเวลานิดนึงนะค่ะ คือ พ่อสามีอายุ 83 แล้ว อยากทำพินัยกรรมไว้ให้ลูกๆ แต่ว่าภรรยาไม่ยินยอมค่ะ พ่อสามีอยู่บ้านคนละหลังกับภรรยาแต่อยู่ในรั้วเดียวกันเพราะว่าโกรธกันมานานมากค่ะ แต่ภรรยาไม่ยินยอมหย่า ซึ่งมีเนื้อที่ 1 ไร่ แต่ว่าโฉนดที่ดินเป็นชื่อของภรรยาเพียงผู้เดียว ที่ดินผืนได้ได้มาหลังแต่งงานซึ่งดิฉันเข้าใจว่าควรจะเป็นสินสมรส ตอนนี้พ่อสามีอยากทราบว่าทำอย่างไรค่ะที่จะมีสิทธิ์แบ่งมรดกให้ลูกได้โดยไม่มีพินัยกรรม เพราะพ่อสามีกลัวว่าจะเสียชีวิตก่อนภรรยา ซึ่งภรรยาไม่ต้องการให้มรดกกับลูกค่ะ ต้องการแบ่งมรดกให้กับหลานตัวเอง พ่อสามีมีสิทธิ์ในการเพิ่มชื่อในที่โฉนดที่ดินฉบับนี้หรือไม่ค่ะ ถ้าได้โดยภรรยายินยอมให้เอาชื่อใส่ร่วม แล้วหลังจากนั้นพ่อสามี มีสิทธิ์ทำพินัยกรรมในส่วนของเค้า เพื่อยกให้บุตร หรือไม่ค่ะ  รบกวนตอบคำถามด่วนนะค่ะ เพราะพ่อสามีเหลือเวลาไม่มากค่ะ แต่ก้ออายที่จะเอาเรื่องในครอบครัวไปเล่าให้เพื่อนทนายฟังหนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    คำตอบ

    เรียน คุณจันทร์เจ้า

         ที่เล่ามาน่ะฟังชอบกล ๆ อยู่ อยากทำพินัยกรรม แต่ในขณะเดียวกันก็อยากให้ทรัพย์สินได้แก่ลูกโดยไม่มีพินัยกรรม แล้วจะเอาอย่างไรกันแน่ล่ะ

         บ้านนั้นเมื่อเป็นสินสมรส ไม่ว่าจะมีชื่ออยู่ด้วยหรือไม่ เขาก็มีสิทธิอยู่ครึ่งหนึ่ง ถ้าตายไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม ครึ่งหนึ่งส่วนของเขา ก็จะตกได้แก่ภรรยา และลูก ๆ คนละเท่า ๆ กัน  แต่ถ้าทำพินัยกรรม เขาจะยกครึ่งหนึ่งของเขาให้แก่ใครก็สุดแต่จะระบุไว้ในพินัยกรรม

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 มกราคม 2552