ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    032904 สัญญาและข้อตกลงแบ่งที่ดินคนอยากรู้7 มกราคม 2552

    คำถาม
    สัญญาและข้อตกลงแบ่งที่ดิน

    คุณย่าของผมเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งได้ทำสัญญาและข้อตกลงแบ่งที่ดินให้แก่ทายาทไว้ ในเวลาต่อมาคุณย่าแก่มากแล้ว ไม่สะดวกเดินทางไปทำธุรกรรมกับทางราชการได้ คุณย่าจึงได้ยกที่ดินให้แก่คุณลุงของผมโดยเสน่หา

    ต่อมาคุณย่าได้เสียชีวิตลง และในปีถัดมาคุณลุงก็ได้เสียชีวิตลง ลูกของคุณลุงได้ร้องต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกของคุณลุง และทายาทของคุณย่าอีกคนได้ร้องต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกของคุณย่า 

    ผมจึงอยากทราบว่า

    1. สัญญาและข้อตกลงแบ่งที่ดินที่คุณย่าเคยทำไว้นั้น ลูกของคุณลุงต้องแบ่งตามสัญญานั้นหรือไม่
    2. จากข้อ 1 .ถ้าลูกของคุณลุงไม่จำเป็นต้องทำตามสัญญา อยากทราบว่า ทายาทที่ระบุไว้ในสัญญา สามารถฟ้องศาลเพื่อให้ลูกของคุณลุงทำการแบ่งที่ดินได้หรือไม่ 
    3. ทายาทของคุณย่าซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของคุณย่ามีสิทธิบังคับเรียกร้องที่ดินคืนจากลูกของคุณลุงได้หรือไม่ โดยได้ให้เหตุผลว่าคุณย่ายกที่ดินให้แก่คุณลุงโดยมีเจตนาเพียงให้คุณลุงเป็นตัวแทนแบ่งที่ดินตามสัญญาฯ

     

     

    คำตอบ

    1. เมื่อที่ดินได้มีการยกให้ลุงไปโดยเสน่หา ภายหลังจากการที่มีข้อตกลง ๆ นั้นก็ย่อมเป็นอันสิ้นผลไป  เว้นแต่คุณจะมีหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า การยกให้โดยเสน่หานั้นเป็นการโอนให้เพื่อไปดำเนินการแบ่งตามข้อตกลงที่เคยทำกันไว้

    2. เมื่อที่ดินนั้นเป็นของลุงไปแล้ว ลูกของลุงเขาก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะแบ่งที่ดินให้คนอื่น

    3. ถ้ามีหลักฐานแสดงได้ว่าเป็นการยกให้ในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อไปดำเนินการแบ่งที่ดิน ทายาทของย่าก็ย่อมฟ้องได้  แต่ข้อเท็จจริงที่ว่ายกให้ลุงในฐานะอย่างไรนั้น คุณเองก็ไม่แน่ใจ เพราะตอนแรกคุณบอกว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หา ซึ่งถ้าเป็นการยกให้โดยเสน่หาจริง ที่ดินนั้นก็ตกเป็นของลุงโดยเด็ดขาดไปแล้ว


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 มกราคม 2552