ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    032733 ทำไมต้องมีการแบ่งพินัยกรรมสู้เพื่อแม่24 ธันวาคม 2551

    คำถาม
    ทำไมต้องมีการแบ่งพินัยกรรม

    สู้ตายเพื่อแม่

    สวัสดีค่ะอาจารย์หนูมีเรื่องอยากจะถามอีกแล้วค่ะ

    ในกรณีที่บิดาจดทะเบียนสมรสกับมารดาแล้วทรัพย์สินทุกรายการได้มาระหว่างสมรสแต่บิดามาเสียไปตอนนี้มีผู้จัดการมรดกสองคนเป็นร่วมกันคือบุตรหนึ่งในนั้นถูกตั้งตามพินัยกรรมอยากทราบว่าทรัพย์สินที่เหลือที่ไม่ใช่พินัยกรรมถ้ามารดาไม่ประสงค์ให้มีการแบ่งมรดกแต่บุตรที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการตามพินัยกรรมต้องการขอแบ่งมรดกส่วนอื่น ๆ ของบิดาเพราะมารดาเกรงว่าถ้าแบ่งให้ลูกคนฝดคนหนึ่งแล้วที่เหลือก็ไม่ยอมท่านกะว่าจะดอาไว้ใช้จนแก่ตายแล้วเหลือเท่าไหร่ค่อยให้ลูก ๆ

    หนูจึงอยากถามว่า

    1.ทำไมหลังจากบิดาเสียต้องมีการขอแบ่งมรดกคะซึ่งจริงแล้วน่าจะให้มารดาเก็บไว้กินไว้ใช้ส่วนตัวก่อนล่ะคะเพราะว่าท่านหามาเหนื่อยยากกว่าจะมีวันนี้พอท่านต้องมาแบ่งให้ทุกคนเหมือนกับว่าไม่เหลืออะไรเลยกลายเป็นว่าพอคู่สามีภรรยาตายบรรดาบุตรทั้งหลายก็จะมารุมทึ้งขอแบ่งกันหมดแล้วเวลาที่เหลือของท่านจะเอาที่ไหนกินใช้ส่วนตัวคะจริง ๆ หนูก็มีส่วนได้เสียในนั้นนะคะแต่หนูรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรมเลยถ้ามีทางออกไหนที่ดีขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยค่ะหนูอยากให้แม่ใช้เงินให้หมดไปเลยที่ไม่เคยไปเที่ยวไหนก็ไปซะที่ไม่เคยมีความสุขก็ให้หาใส่ตัวบ้างเพราะตลอดเวลาที่หนูเห็นท่านๆก็ทำแต่งานเก็บเงินให้ลูก ๆกลายเป็นว่าส่วนที่ท่านนำไปใช้บุตรที่อยากจะได้สมบัติก็อ้างว่าจะฟ้องท่านในการยักย้ายถ่ายโอนกองมรดกตอนนี้คุณแม่หนูเป็นทั้งโรคเบาหวานโรคหัวใจตรอมใจเข้าโรงบาลมาได้อาทิตย์กว่าแล้ะค่ะหนูรู้สึกว่ากฎหมายไทยไม่คุ้มครองบิดามารดาเลยกลายเป็นว่ราบุตรจงเจริญไม้ต้องทำมาหากินหรอก

    ขอกราบขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะที่หนูออกแนวระบายอารมณ์ด้วยถามด้วยเพราะหนูโกรธแทนคุณแม่ค่ะถ้าหนูอยากรู้ข้อกฎหมายให้ละเอียดเพื่อจะหาช่องโหว่หนูต้องไปปรึกษาทนายที่ไหนคะเพราะที่หนูถามมาทั้งหมดก็ตอบเหมือนกันว่าต้องแบ่ง

    คำตอบ
    อันทรัพย์สินที่สามีภรรยาหามาได้ด้วยกันและเป็นสินสมรสนั้น ย่อมเป็นสิทธิของแต่ละคน ๆ ละครึ่ง แต่ถ้าเป็นสินส่วนตัว (เช่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับมรดกมาหรือมีอยู่เดิม หรือมีคนยกให้ ก็เป็นสินส่วนตัวของคนนั้น) ถ้าไม่ต้องการให้สมบัตินั้นตกไปเป็นของคนอื่น ก็สามารถทำพินัยกรรมยกส่วนของตนให้สามีหรือภรรยาที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ เมื่อได้ทำเช่นนั้นแล้ว ลูก ๆ หรือใครก็มาเอาไปไม่ได้  แต่ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสนั้นก็ต้องแยกจากกัน เพื่อให้รู้ว่าของใครเป็นจำนวนเท่าไร  ซึ่งตามกฎหมายให้แบ่งคนละครึ่งก่อน ครึ่งของสามีที่ตายย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมและคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่  เช่น สามีตายมีสินสมรสอยู่ ๑ ล้าน และสินส่วนตัวของสามี ๑ ล้าน และสินส่วนตัวของภรรยา ๑ ล้าน เงินที่จะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้แก่เงิน ๑ ล้านที่เป็นสินสมรส และสินส่วนตัวของสามี ๑ล้าน แต่สินสมรส ๑ ล้านนั้นครึ่งหนึ่งเป็นของภรรยา จึงต้องคืนให้ภรรยา ๕ แสนก่อน ที่เหลืออีกห้าแสนรวมกับสินส่วนตัวของสามี ๑ ล้าน จึงเป็นมรดก ๑ ล้าน ๕ แสน ถ้ามีลูกสองคน มรดกนี่ก็ต้องแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ลูก ๆ สองคน ได้คนละ ๕ แสน ภรรยาได้ ๕ แสน เมื่อรวมกับสินสมรสที่ได้รับแบ่งมาก่อนกับสินส่วนตัวแล้ว ภรรยาก็จะได้ทั้งหมดสองล้าน  ถ้าคุณอยากให้ส่วนของคุณเป็นของแม่ ก็ไม่ยากอะไร รับส่วนของคุณมาแล้วก็คืนให้แม่ไปเสีย คุณก็จะได้กุศล ๒ ชั้น ๆ แรกก็ทำให้แม่ชื่นใจ ชั้นที่สองก็เป็นการกตัญญูต่อแม่ ส่วนคนอื่น ๆ ก็ช่างเขาเถอะ 
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 ธันวาคม 2551