ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    032610 ภรรยาใหม่ของคุณปู่หลานปู่19 ธันวาคม 2551

    คำถาม
    ภรรยาใหม่ของคุณปู่

    หนูขอเล่าเรื่องราวเลยนะคะ  คือ ครอบครัวของหนูเป็นครอบครัวใหญ่มีสมาชิก 9 คน  คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า อา หนู และน้อง ๆ อีก 3 คน  พ่อหนูเสียได้ประมาณ 8 ปีที่แล้ว ต่อมาอีก 3 ปี ย่าก็เสีย อาของมีครอบครัวแล้วแยกออกไปอยู่ต่างจังหวัด  ส่วนหนูและน้องก็ทำงานกันหมดแล้วอยู่ต่างจังหวัด และกรุงเทพฯ  ตอนเด็กๆ หนูก็สงสัยว่าทำไมพ่อกับปู่นามสกุลไม่เหมือนกัน   เพิ่งมารู้และเข้าใจตอนที่โต  ย่าเล่าให้ฟังว่า ปู่กับย่าแต่งงานกันตั้งแต่พ่อหนูอายุได้ 4 ขวบและคงมีเหตุผลบางประการที่ไม่เปลี่ยนมาใช้นามสกุลของปู่   และย่าของหนูก็ได้เอาลูกของน้องชายมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งได้ใช้นามสกุลปู่ด้วย (อาของหนูนี่เอง)  มาถึงตอนนี้ขอเข้าเรื่องเลยนะคะเพราะเอ่ยถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องหมดแล้ว  เมื่อย่าของหนูเสีย ที่บ้านก็เหลือแต่ ปู่กับแม่  อีกสามเดือนหลังจากที่ย่าเสีย ปู่ก็แต่งงานใหม่กับผู้หญิงที่อายุรุ่นลูกเลย  ปู่อายุ 75 ภรรยาใหม่ก็ประมาณ สี่สิบกว่า  หลังจากภรรยาคนใหม่ของปู่มาอยู่ได้ไม่นานก็ทะเลาะกันกับแม่หนู  สรุปแล้วแม่หนูก็อยู่ไม่ได้จำเป็นต้องไปอยู่ที่สวนของแม่ที่ซื้อไว้นานแล้ว    ปู่กับภรรยาใหม่ก็จดทะเบียนสมรสเรียบร้อย  ลืมบอกไปว่าบ้านและที่ดินที่อยู่ทุกวันนี้เป็นเงินที่ย่าซื้อมา  แต่ย่าให้ปู่เป็นคนจัดการในเรื่องเอกสารโฉนดที่ดิน  กลายเป็นว่าบ้านและที่ดินตามโฉนดเป็นชื่อของปู่คนเดียว   ถ้าย่ายังไม่เสียก็คงไม่มีปัญหา  แต่ย่าเสียไปแล้วปัญหาตามมามากมายหลายอย่าง  ปู่ของหนูจากคนที่เคยมีเงินเก็บ มีเงินบำหนาญ  พอแต่งงานกลายเป็นคนมีหนี้สินพะรุงพะรังจากภรรยาใหม่และพี่ ๆ น้อง ๆ และลูก ๆ ของภรรยาใหม่   ช่วยกันใช้ช่วยกันผลาญเหลือเกิน  สุดท้ายก็มีหนี้สินนอกระบบ  ก็เลยเอาโฉนดบ้านและที่ดินไปจำนองไว้   โดยทำสัญญาจดจำนองกับที่ดินจังหวัดแบบถูกต้องเลย  นาน ๆ ไปก็ส่งดอกเบี้ยไม่ไหว  ขาดส่ง 4 เดือน  ถ้าเป็นคนที่ไม่คุ้นเคยกันก็หลุดจำนองไปแล้ว   ปู่ของหนูคงไม่รู้จะทำยังไงก็เลยถามขายให้หนูซึ่งเป็นหลานในราคาหกแสนบาท   และหนูก็พอจะมีกำลังอยู่บ้างก็ซื้อไว้โดยโอนโฉนดที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของหนูเรียบร้อยแล้วด้วย  แล้วอาทิตย์ที่ผ่านมาปู่ของหนูเพิ่งเสียไป  ปู่อยู่กินกับภรรยาใหม่ได้ 5 ปี  ภรรยาใหม่ของปู่เขาไปพูดให้ชาวบ้านฟังว่าหนูจ่ายเงินไม่ครบขาดไปอีกสามแสนบาท  ซึ่งความจริงไม่ใช่เลยหนูมีหลักฐานทุกอย่าง  ตั้งแต่ไถ่ถอนและโอนเงินที่เหลือเข้าบัญชีปู่จนครบหกแสนบาท   หนูไม่รู้ปู่ไปพูดกับภรรยาเขาว่าขายเท่าไหร่กันแน่  แต่ปู่เขาตกลงขายให้หนูโดยผ่านน้องชายหนูว่าหกแสนบาท  น้องชายหนูบอกว่าถามย้ำหลายครั้งว่าหกแสนแน่นะ  ปู่บอกหกแสนชัวร์   จ่ายตังค์แล้วโอนกันเลย  ซึ่งวันที่ไปโอนที่สำนังานที่ดินไปกันหลายคนด้วย  หนูขอถามอาจารย์เป็นข้อ ๆ ดังนี้

    1. ภรรยาของปู่ที่อยู่ด้วยกันมา 5 ปี ตามกฎหมายเขามีสิทธิ์ในบ้านและที่ดินหรือไม่  เพราะเขาขู่ว่าถ้าไม่จ่ายเงินที่ค้างก็จะรื้อบ้านไปปลูกที่บ้านของเขา

    2. ภรรยาของปู่เขามีชื่อในทะเบียนบ้านในบ้านหลังนี้  ซึ่งปู่เป็นเจ้าบ้าน  และหนูกับน้องๆ เป็นผู้อาศัย  หนูจะทำยังไงดีคะอยากจะเอาชื่อเขาย้ายออกจากบ้านหลังนี้ไป   และตอนนี้หนูมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินผืนนี้

    3. ถ้าหากภรรยาของปู่เขาไม่ยอมย้ายออกไป  หนูจะทำอย่างไรดีเพราะเขาคงเล่นแง่ไม่ย้ายออกไปง่าย ๆ แน่นอน

    ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยแนะนำทางออกให้หนูด้วย  ตอนนี้กังวลมากเลยคะ

    ด้วยความเคารพนับถืออย่างสูง 

    คำตอบ

    1. เมื่อบ้านและที่ดินเป็นทรัพย์ที่ปู่มีมาก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสกับภรรยาใหม่ จึงเป็นสินส่วนตัวของปู่ เมื่อปู่ขายไปก่อนที่จะตาย ภรรยาคนใหม่ก็ไม่มีสิทธิอะไรในบ้านและที่ดินนั้นอีก

    2.-3 เมื่อปู่ในฐานะเจ้าบ้านตายแล้ว คุณก็ไปแจ้งนายทะเบียนให้เปลี่ยนเป็นคุณเป็ฯเจ้าบ้าน แล้วคุณก็แจ้งให้เขาย้ายออกไป ถ้าเขาไม่ยอมย้ายออกไปคุณก็ไปแจ้งย้ายชื่อเขาไปไว้ในทะเบียนกลางได้ 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 ธันวาคม 2551