ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049918 ป.ป.ช.ทำผิดกฎหมายแก้อย่างไรพงส.23 มีนาคม 2557

    คำถาม
    ป.ป.ช.ทำผิดกฎหมายแก้อย่างไร

    เรียน  อาจารย์มีชัย  ที่เคารพ

               ผมได้รับคำตอบลง 21 มี.ค.57แล้ว ขอบพระคุณมาก  มีความเห็นดังนี้

    การใช้ดุลยพินิจที่แตกต่างกรณีตามที่อาจารย์ตอบมา  มีศาลฎีกาวางแนวไว้ว่าการใช้ดุลยพินิจต้องสมเหตุสมผลอย่างวิญญูชนพึงใช้  มิฉะนั้นมีโทษทางอาญาดูรายละเอียดตามฎีกา3509/2549    กรณีนี้ป.ป.ช.ลงมติฟ้องไป  อัยการคืน ป.ป.ช.ไปฟ้องเอง   ศาลยกเหตุคดีขาดอายุความ    จะต้องมีผู้ใดผู้หนึ่งใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ       ถ้าถือป.ป.ช.เป็นบรรทัดฐาน แสดงว่า อัยการ, ศาลใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ  ประกอบกับรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า  ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง   รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย(ม.197)  แสดงว่า การใช้ดุลยพินิจมิใช่อิสระอย่างเดียวจะเป็นการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจ  จึงต้องถูกต้อง  รวดเร็ว และเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายด้วย และตามกฎหมายป.ป.ช. มาตรา 84 ป.ป.ช.มีอำนาจดำเนินคดีอาญาอัยการ,ศาล แต่ไม่ทำ  ทางกลับกันถือการใช้ดุลยพินิจของศาลเป็นบรรทัดฐาน ป.ป.ช.มีความผิด แต่ทั้งป.ป.ช.,อัยการ,ศาล  คงทำหน้าที่ตามปกติ จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ขอบคุณครับ

    คำตอบ
    คำตอบก็ยังเป็นอย่างเดิม คือขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของแต่ละเรื่อง คือ ถ้าตั้งใจกลั่นแกล้งคน ก็เป็นความผิด ถ้าเป็นเรื่องของความเห็นที่ไม่ตรงกัน ก็คงไปโทษคนที่เห็นต่างไม่ได้ ถ้าความเห็นต่างนั้นเป็นไปโดยสุจริต เหมือนกับที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้อง อัยการเห็นด้วยและดำเนินการฟ้อง แล้วในที่สุดศาลตัดสินว่าจำเลยไม่ผิด ถ้าได้ความว่าพนักงานสอบสวนและอัยการดำเนินการไปโดยสุจริต ก็ไปเอาผิดอัยการและพนักงานสอบสวนไม่ได้ แต่ถ้าได้ความว่าไปกลั่นแกล้งเขา ก็เอาผิดได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 มีนาคม 2557