ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040346 การลงนามสนองพระบรมราชโองการนายนิติธรรม แกล้วกล้า26 พฤษภาคม 2553

    คำถาม
    การลงนามสนองพระบรมราชโองการ
    ขออนุญาตสอบถามท่านอาจารย์เกี่ยวกับการลงนามสนองพระบรมราชโองการในเรื่องกฎหมายที่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร
    คำตอบ
    กฎหมายทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ที่จะต้องให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทั้งนั้น และนอกจากกฎหมายแล้วอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์จะต้องลงพระปรมาภิไธย ก็ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทั้งสิ้น  ยกเว้นในบางกรณีที่จะมีการกำหนดให้บุคคลอื่นลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เช่น กรณีตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  หรือกรณีการตั้งองคมนตรี ประธานองคมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  ทั้งนี้ตามหลักที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๕
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 พฤษภาคม 2553