ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014853 การทำสัญญากู้ยืมเงินย้อนหลังหนุ่มเมืองเก่า9 กันยายน 2548

    คำถาม
    การทำสัญญากู้ยืมเงินย้อนหลัง

    เรียนอาจารย์ มีชัย

    เมื่อต้นเดือน มิถุนายน เพื่อนผมได้ยืมเงินไป 30000 บาท เพื่อไปลงทุนค้าขาย โดยกำหนดว่าจะทำการคืนให้เมื่อครบเดือน แต่จนถึงวันนี้ผมเองก็ยังไม่ได้คืน ผมจึงอยากเรียนถามอาจารย์ดังนี้ครับ

    1. ผมจะสามารถทำสัญญาการกู้ยืมย้อนหลังได้หรือเปล่าครับ

    2. ขั้นตอนในการทำสัญญา มีอะไรบ้างครับ จำเป็นต้องมีการปั้มแสตมป์ภาษีอากรหรือเปล่าครับ(เพราะเห็นในหนังสือสัญญาเงินกู้ยืม ที่ซื้อมามีช่องให้ติดแสตมป์อากรด้วย)

    3. ถ้าไม่สามารถทำสัญญาเงินกู้ย้อนหลังได้ เราจะระบุวันที่เริ่มทำสัญญาเป็นวันนี้ได้หรือเปล่าครับ

    4. ในการทำสัญญา ควรจะมีเอกสารอะไรบ้างครับ ถ้าเรามีเพียงสำเนาบัตรประชาชนที่รับรองสำเนาแล้วของผู้กู้ยืม จะได้ไหมครับ

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

    คำตอบ

    เรียน หนุ่มเมืองเก่า

        1.  ทำได้  เพียงแต่ในเวลาลงวันที่ที่ทำสัญญา ให้ระบุวันที่ที่ทำจริง ส่วนข้อความในสัญญาจะระบุสว่าได้กู้ยืมเงินกันไปเมื่อไรตามที่เป็นจริงก็ทำได้

        2. ไม่มีขั้นตอนอะไร เมื่อทำแล้วก็ปิดอากรแสตมป์เสียเท่านั้น

        3. ดูข้อ 1.

        4. ไม่ต้องมีเอกสารอะไรก็ได้ เพียงแต่ให้เขาลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ยืมก็แล้วกัน

     

       


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 กันยายน 2548