ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013713 หมิ่นประมาทสม16 เมษายน 2548

    คำถาม
    หมิ่นประมาท

    ดิฉันมักจะถูกเพื่อนร่วมงานพูดว่ากระทบให้เสียหายทั้งในที่ทำงาน ในที่ประชุม และที่อื่น ๆ อยู่เสมอ

    กว่าดิฉันจะคิดคำพูดเถียงหรือตอบโต้ได้ก็เลยเหตุการณ์ไปแล้ว ทำให้เจ็บใจที่เถียงไม่ทันสักที ครั้นจะปล่อยไปก็เสียหาย จึงจะฟ้องหมิ่นประมาท

    ขอเรียนสอบถามว่าเรื่องที่จะฟ้องหมิ่นประมาทได้ต้องมีน้ำหนักรุนแรงแค่ไหนและมีขั้นตอนดำเนินการฟ้องหมิ่นประมาทอย่างไรบ้างค่ะ(บางครั้งก็ไม่อยากมีเรื่องแต่เจ็บใจค่ะ)

    คำตอบ

        การจะเป็นหมิ่นประมาทตามกฎหมายได้ ต้องประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้โดยครบถ้วน คือ (๑) มีเจตนา (๒) ใส่ความผู้อื่น (๓) การใส่ความนั้นเป็นการกล่าวต่อบุคคลที่สามหรือมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย โดยคนถูกใส่ความไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วย เช่น ก.พูดกับ ข. (ต่อหน้าหรือลับหลังนางสาว ค.) ว่า นางสาว ค.เป็นหนี้เป็นสินเขาล้นพ้นตัว และ (๔) ในการใส่ความนั้นน่าจะทำให้ผู้อื่น (คือ นางสาว ค.) เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

        เมื่อเข้าลักษณะทั้ง ๔ ประการแล้ว จึงจะเป็นหมิ่นประมาท อันเป็นคดีอาญา  หลักใหญ่ใจความจึงอยู่ที่คำกล่าวหานั้นมีลักษณะอย่างไร ทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือไม่

        การดำเนินคดีในศาลนั้นเป็นเรื่องทางเทคนิค และต้องการความฉับไว แม้จะมีทนายความคอยช่วยเหลือ แต่ตัวผู้เสียหายก็ต้องฉับไวในการตอบคำถามพอสมควร  ถ้าลงได้เขาว่าอะไรมาแล้วคิดตอบไม่ค่อยทันละก็ ต้องคิดให้หนักก่อนว่าจะสมควรไปดำเนินคดีดีหรือไม่  ทางแก้อีกทางหนึ่งนอกเหนือจากการดำเนินคดีก็คือ ฝึกที่ตัวเราเองก่อน ให้สามารถตอบโต้คนอื่นได้ (ในกรอบที่จะไม่ไปหมิ่นประมาทเขา) หรือหัดให้เป็นคนใจเย็น ลักษณะ "ยิ้มได้เมื่อภัยมา" เมื่อใจเย็น ไม่เกิดอารมณ์แล้ว ความคิดอ่านก็จะแจ่มใส พอที่จะตอบโต้เขาได้ หรืออย่างน้อยถ้ายังตอบโต้ไม่ได้ การใจเย็นไม่มีอารมณ์ก็ยังสามารถชนะคนอื่นได้ เพราะคนที่เขาว่าอะไรให้เราเจ็บใจนั้น วัตถุประสงค์หลักของเขาก็คือ ต้องการให้เราโกรธ มีอารมณ์ หรือเจ็บใจ  ถ้าเราไม่โกรธ ไม่มีอารมณ์ และไม่แสดงให้เขารู้ว่าเราเจ็บใจหรือถูกกระทบกระเทือน คนที่จะกระอักเลือดจะกลายเป็นคนที่มาว่าเรา

    จะลองดูก็ได้ง่าย ๆ เวลาที่มีใครมาว่าเรา แล้วเราทำยิ้ม ๆ พูดช้า ๆ ให้เขาได้ยินชัดเจนเพียงว่า "จะมาอิจฉาตาร้อนไปทำไม" แล้วก็ทำไม่รู้ไม่ชี้เสีย เพียงเท่านี้ก็จะเห็นปฏิกิริยาฉุนเฉียวหรือโกรธาได้ทันตา  หรือถ้าจะให้หนักกว่านั้น ก็อาจพูดว่า "จะมาทำตัวเป็นนางขี้อิจฉาไปทำไม"

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 เมษายน 2548