ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012735 พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ , การจับ/การแจ้งสิทธิพนักงานสอบสวน23 ธันวาคม 2547

    คำถาม
    พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ , การจับ/การแจ้งสิทธิ

    เรียน  ท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

            ขอเรียนถามว่า

            1. กรณีมีเหตุยิงกันตายในท้องที่หนึ่ง  เจ้าพนักงานตำรวจผู้พบเห็นเหตุการณ์ได้ไล่ติดตามคนร้ายไปอย่างกระชั้นชิดและเกิดการยิงต่อสู้กับคนร้ายในอีกท้องที่หนึ่ง (ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต) ถามว่า สามารถรวมสำนวนทั้งสองคดีให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่เกิดการยิงต่อสู้กับคนร้ายเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้หรือไม่

            2. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา 237 บัญญัติว่า  "ในคดีอาญาการจับและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือหมายของศาล ฯลฯ "  หมายความว่า  ถ้าจะจับอย่างเดีียวโดยไม่มีการควบคุมตัวผู้ถูกจับ กรณียังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล สามารถกระทำได้ใช่หรือไม่  ตัวอย่างเช่น เมื่อพบตัวผู้กระทำผิดกรณีมิใช่เหตุซึ่งหน้าเจ้าพนักงานตำรวจสามารถแจ้งข้อหาให้ทราบและทำบันทึกการจับกุมได้ตามปกติ  แล้วแจ้งให้ผู้ต้องหาไปพบพนักงานสอบสวนเองหรือหากผู้ต้องหาจะสมัครใจไปพบพนักงานสอบสวนพร้อมกับเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมก็ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับตัวผู้ต้องหาไว้แล้วก็ปฏิบัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา  134 แล้วให้ผู้ต้องหากลับไปโดยไม่มีการควบคุม  การปฏิบัติเช่นว่านี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ทั้งในส่วนของการจับกุมและการสอบสวน

             3. สืบเนื่องจากข้อ 2. กรณีผู้่ต้องหาเข้าพบพนักงานสอบสวนเองหรือมาตามหมายเรียก โดยยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาลให้จับและควบคุมตัว  พนักงานสอบสวนเพียงปฏิบัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134 แล้วให้ผู้ต้องหากลับไปโดยไม่มีการควบคุม โดยไม่จำต้องแจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 7 ทวิ (เดิม) ใช่หรือไม่  เพราะตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 239 วรรคท้าย บัญญัติให้ต้องแจ้งสิทธิเฉพาะแก่บุคคลผู้ถูกควบคุม คุมขัง หรือจำคุก เท่านั้น

              ขอขอบพระคุณอย่างสูง

    คำตอบ

    เรียน พนักงานสอบสวน

        1. ถ้าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายข้อยกเว้นในการดำเนินการนอกเขตอำนาจของตน (ตามระเบียบของสำนักงานตำรวจฯ) การดำเนินการดังกล่าวก็สามารถรวบรวมเข้าเป็นสำนวนให้พนักงานสอบสวนเจ้าของท้องที่ดำเนินการต่อไปได้

        2. ถ้าไม่มีหมายและไม่ใช่มีเหตุที่จะจับได้โดยไม่มีหมาย ก็จับไม่ได้ แต่ถ้าผู้ต้องหามาหาตำรวจเองและยินยอมให้ถ้อยคำ ก็ใช้ได้

        3. การได้รับการแจ้งสิทธิเป็นสิทฺธิพื้นฐานของบุคคล ดังนั้นเมื่อจะใช้คำให้การของเขามาเป็นผลร้ายต่อเขา ก็ต้องแจ้งสิทธิให้เขาทราบก่อนที่เขาจะให้การโดยเฉพาะในฐานะผู้ต้องหา

     

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 ธันวาคม 2547