ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012561 กฏหมายแรงงาน (งาน รปภ.)ศุภสิทธิ์ ปิยรัตนเสถียร29 พฤศจิกายน 2547

    คำถาม
    กฏหมายแรงงาน (งาน รปภ.)
    อาจารย์ครับ มีเรื่องเรียนปรึกษา ดังนี้ครับ 1. งานรักษาความปลอดภัย (งาน รปภ.) นั้น เคยได้ศึกษาในกฏหมายแรงงาน ไม่พบตัวบทใดรองรับให้งาน รปภ. สามารถทำงานได้วันละ 12 ชม. เลยครับ ไม่แน่ใจว่าอาจารย์ พอแนะนำได้หรือไม่ครับ 2.แล้วการที่เราพบเห็นบ่อยครั้งที่ งาน รปภ. หรือลุงยาม หลายๆ คนทำงาน เกินวันละ 24 ชั่วโมงต่อกันเป็นหลายๆวัน ไม่เห็นมี จนท.แรงงาน เข้าไปสอบถาม หรือ ตรวจสอบแต่อย่างใด กรณีดังกล่าว นายจ้างมีความผิดหรือตัวรปภ.สมประโยชน์ เลยไม่ผิดกฏหมายหรือปล่าวครับ 3.งานทั่วๆ ไปเรายังพบว่ามีกฏหมายกำหนดให้ทำงานได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง แต่ งานรปภ. ลองคำนวนเล่นๆ ว่า เราเห็นเขาอยู่ทั้งวันทั้งคืน บางทีตลอดอาทิตย์ อย่างนี้ มันผิดกฏหมายหรือไม่อย่างไรครับ รบกวนอาจารย์ เท่านี้ครับ คือผมทำงานเป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือทางกฏหมายประชาชนครับ และมี ลุง รปภ.มาขอคำปรึกษา เลยเกรงว่าข้อมูลผมจะไม่แน่นครบถ้วนครับ ขอบพระคุณอาจารย์และบรรดาผู้รู้ ทีมงานทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ศุภสิทธิ์
    คำตอบ
    เรียน คุณศุภสิทธิ์ 1. เมื่อหาไม่พบ ก็แปลว่าไม่มีกฎหมายกำหนดเช่นนั้เน 2. เจ้าหน้าที่แรงงานเขาไม่ทราบน่ะซี 3. บางที "ลุงยาม" แกก็อาจนอนเสียบ้าง เพราะมิฉะนั้นคงอยู่ตลอดคืนเป็นอาิทตย์ไม่ได้ มีชัย ฤชุพันธุ์ 28 พ.ย. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 พฤศจิกายน 2547