ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012491 บุกรุก (อายุความ)23 พฤศจิกายน 2547

    คำถาม
    บุกรุก (อายุความ)
    เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ ประมาณปี 29 ภรรยาผมแบ่งขายที่ให้กับญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งโดยระบุชื่อเลูกคนหนึ่งของญาติผู้ใหญ่คนนี้เป็นเจ้าของร่วมในโฉนด โดยได้มีการรังวัดแบ่งเขตอย่างไม่เป็นทางการ(จนท.ที่ดินเป็นผู้รังวัด) และผู้ซื้อที่ดินได้สร้างรั้วไม้ระแนงขึ้น ซึ่งเราก็ปล่อยให้เขาทำไปโดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องเพราะไว้ใจกัน หลังจากนั้นภรรยาผมขอให้แยกโฉนดที่ดินหลายครั้ง แต่ถูกผัดผ่อนตลอดเวลา ภรรยาผมก็ไม่ได้รบเร้าเพราะเห็นเป็นญาติผู้ใหญ่ ต่อมาเราต้องเดินทางไปต่างประเทศภรรยาผมได้ฝากโฉนดที่ดินไว้กับญาติผู้นี้ ปี 37 เรากลับมาและพบโดยบังเอิญว่า ญาติผู้นี้นำชื่อลูกอีกคนหนึ่งเข้าใส่ในโฉนดโดยไม่บอกให้ภรรยาผมทราบก่อน ภรรยาผมจึงทำเรื่องขอแยกโฉนดที่ดิน ซึ่งก็ทำให้พบว่าญาติผู้นี้ทำรั้วกินที่เข้ามาเกือบสามตารางวา เจ้าหน้าที่รังวัดจึงเสนอให้เลื่อนรั้วด้านหนึ่งออกไป โดยไม่ต้องเลื่อนรั้วส่วนที่เหลือ (แนวเขตประกอบด้วยเส้นตรงหลายเส้น) เมื่อเขายินยอมแล้วก็ปักหลักเขตไปตามนั้น และจดทะเบียนแยกโฉนดในเดือนสิงหาคม 2538 เมื่อดำเนินการรังวัดเสร็จในปี 37 เราต้องรีบเดินทางไปต่างประเทศ ไม่สามารถอยู่ดูการขยับรั้วตามที่รังวัดได้ และฝากญาติผู้หนึ่งให้ช่วยตามเรื่องการแยกโฉนดและส่งโฉนดที่จดทะเบียนแยกแล้ว (ส.ค. 38) ไปให้เราในภายหลัง ปี 39 เรากลับประเทศไทย พบว่าญาติผู้ใหญ่รายนี้ไม่ได้เลื่อนรั้วเเฉพาะด้านที่ตกลงกันไว้ตามการรังวัดเท่านั้น แต่ได้ทำรั้วใหม่ตลอดแนวระหว่างที่ของเขากับของภรรยาผม ตอนนั้นเรายังไม่ทันได้สังเกตในรายละเอียดเพราะเมื่อกลับมาแล้วก็ไปอยู่ที่อื่น จนกระทั่งปี 45 เรากลับมาอยู่ที่นี่และพบว่าญาติผู้นี้เลื่อนรั้วด้านที่ตกลงกันไว้ออกไป แต่ขยับรั้วด้านอื่นเข้ามา นอกจากนี้ยังหาหลักเขตบางหลักที่ปักตอนแบ่งโฉนดไม่เจออีกด้วย ขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่า หากจะนับอายุความเพื่อดำเนินคดีอาญาในข้อหาบุกรุก จะเริ่มนับอายุความเมื่อไร เพราะเราไม่ทราบว่าเขาสร้างรั้วใหม่เมื่อใดในช่วงหลังการรังวัดเมื่อปี 37 กับปี 39 ที่เรากลับมาเห็นรั้วใหม่ของเขา ส่วนการจดทะเบียนแยกโฉนดอย่างเป็นทางการคือ ส.ค. 38 ขอบพระคุณมากครับ เทียมจิตร
    คำตอบ
    เรียน คุณเทียมจิตร อันความผิดทางอาญาฐานบุกรุกนั้น เป็นความผิดอันยอมความกันได้ ถ้าไม่ได้ร้องทุกข์เสียภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด เป็นอันขาดอายุความ แต่ตราบใดที่เขายังบุกรุกอยู่ ก็ต้องถือว่าความผิดนั้นเกิดขึ้นทุกวัน คุณจึงสามารถไปร้องทุกข์ได้ สำหรับในคดีแพ่งนั้น ถ้าถือเอาวันแบ่งแยกโฉนดเดือนสิงหาคม ๒๕๓๘ เป็นเกณฑ์ การครอบครองของเขาก็ใกล้จะครบ ๑๐ ปี อันจะเป็นเหตุให้อ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ จึงควรรีบดำเนินการเสียก่อนเดือนสิงหาคม ๒๕๔๘ มีชัย ฤชุพันธุ์ 23 พ.ย. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 พฤศจิกายน 2547