ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012484 มีเรื่องอยากฟ้องผู้พิพากษาสาทร23 พฤศจิกายน 2547

    คำถาม
    มีเรื่องอยากฟ้องผู้พิพากษา
    ผมมีเรื่องต้องการอยากฟ้องผู้พิพาษาดังนี้ครับ 1. ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารให้แล้ว คนรับไม่ส่งมาให้ ผู้พิพากษาคนนั้นกลับอ้างว่าอาจเป็นความลับ ทั้งๆที่ไม่ใช่ความลับอะไร และผมต้องใช้สืบพยานด้วย ไม่ให้เลื่อนนัดเพราะอ้างว่าไม่ตามพยานเอกสารมาเอง ผมเอาหมายศาลไปให้แล้วแต่คนรับไม่เอามาส่ง ความผิดของผมหรือ 2.พยานหมายไปไม่มาตามหมาย ศาลสั่งตัดพยานหน้าตาเฉย อ้างว่าผมต้องนำมาเอง หากผมนำมาได้ทำไมต้องขอหมายละครับ 3.ตัดสินคดีไม่ตรงตามพยานหลักฐานที่ผมยื่นไป เช่นผมว่าพยานเอกสารนี้จำเลยทำเท็จขึ้นมา โดยที่มีคนยืยยัน กลับเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง จึงยกฟ้องผมไป 4.อ้างหน้าตาเฉยว่าลูกน้องทำรายงานเสนอที่ไม่ชอบ ไม่ถือว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หัวหน้าเป็นคนรับผิด ทั้งๆที่ลูกน้องร่วมเซ็นในเอกสารนํ้นด้วย โดยผมจะร้องไปยัง กต. หรือฟ้องเป็นคดีอาญาดีกว่ากันครับว่าผู้พิพากษาคนนี้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กต. มีการพิจารณาคดีวินัยนานไหม และเข้าหลักเกณฑ์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไหม ส่วนคดีผมอุทธรณ์ไปแล้วผมต้องการเอาผิดผู้พิพากษาคนนี้ด้วยครับ
    คำตอบ
    จะฟ้องเป็นคดีอาญา หรือจะร้องเรียนต่อ กกต. ก็ทำได้ทั้งสอง แต่ข้อควรระวังก็คือ ถ้าผิดพลาด ก็อาจกลายเป็นการหมิ่นประมาทศาล หรือละเมิดอำนาจศาล อันมีโทษถึงจำคุกได้ ที่ว่าผิดพลาดก็คือ บางทีความเข้าใจที่เกิดจากความหงุดหงิดที่การมิได้เป็นไปตามที่คุณต้องการนั้น อาจเป็นความเข้าใจผิดก็ได้ อย่าลืมว่าศาลมีอำนาจและดุลพินิจที่อิสระ ใครจะเข้าไปกล่าวหาการใช้ดุลพินิจนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานว่าเกิดจากการทุจริต ทางที่ดีก่อนจะตัดสินใจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ควรปรึกษากับทนายความเสียก่อน เมื่อเขาเห็นรายละเอียดของเรื่องแล้วอาจอธิบายให้ฟังได้ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มีชัย ฤชุพันธุ์ 19 พ.ย. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 พฤศจิกายน 2547