ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012457 เหตุซึ่งหน้าและการเปรียบเทียบปรับพนักงานสอบสวน22 พฤศจิกายน 2547

    คำถาม
    เหตุซึ่งหน้าและการเปรียบเทียบปรับ
    เรียน อาจารย์มีชัยที่เคารพ ผมขอเรียนถามอาจารย์ 3 ข้อดังนี้ ข้อ 1. โพยหวยใต้ดินของงวดที่ออกไปแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบถือเป็นการพบเหตุซึ่งหน้าที่สามารถจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาได้หรือไม่ ข้อ 2. การให้ผู้ถูกจับสามารถชำระค่าปรับทางไปรษณีย์ได้ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก จะขัดแย้งกับบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.การเปรียบเทียบปรับ หรือไม่ เพราะตาม พ.ร.บ.การเปรียบเทียบปรับ และระเบียบการเปรียบเทียบปรับของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องมีการสอบสวนผู้ต้องหาโดยพนักงานสอบสวนก่อน และต้องให้ผู้ต้องหาเซ็นชื่อในบันทึกการเปรียบเทียบและใบเสร็จรับเงิน แต่ที่เห็นปฏิบัติกันอยู่เสมียนเปรียบเทียบปรับต้องเซ็นชื่อผู้ต้องหาในบันทึกเปรียบเทียบปรับและในใบเสร็จรับเงินเอง พร้อมทั้งกรอกข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ต้องหาเองด้วย ข้อ 3. ผู้ต้องหาที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้ ตาม ป.อาญา ม.391 หากผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนสามารถเปรียบเทียบปรับได้เลยหรือไม่ ในการแจ้งข้อหา (ที่เปรียบเทียบปรับได้) และการซักถามคำให้การต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 133 ทวิ,134 ทวิ, 134 ตรี ด้วยหรือไม่ ขอขอบพระคุณอย่างสูง
    คำตอบ
    เรียน พนักงานสอบสวน 1. ความผิดซึ่งหน้าได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ หลักจึงอยู่ที่ว่าได้เห็นการกระทำนั้นหรือได้เห็นอาการซึ่งแทบไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำ การที่ไปค้นตัวเขาแล้วจึงไปพบพยานหลักฐานว่าเขาได้เคยกระทำผิดมานั้น จึงไม่ใช่การกระทำความผิดซึ่งหน้า 2 เมื่อเป็นบทบัญญัติของ "พระราชบัญญัติ" จึงเป็นข้อยกเว้น และอยู่เหนือกว่าระเบียบของกรมตำรวจ 3. การเปรียบเทียบปรับนั้น หมายถึงการยอมรับว่าได้กระทำความผิด ซึ่งบุคคลอายุยังไม่ถึง 18 ปี กฎหมายให้ความคุ้มครอง อันเป็นความคุ้มครองเด็ดขาด ไม่เกี่ยวกับความยินยอมพร้อมใจของใคร จึงต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๓๔ทวิ และ ๑๓๔ ตรี มีชัย ฤชุพันธุ์ 16 พ.ย. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 พฤศจิกายน 2547