ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012441 การจดทะเบียนรับรองบุตรเสาวนีย์16 พฤศจิกายน 2547

    คำถาม
    การจดทะเบียนรับรองบุตร
    ดิฉันอยู่กินกับสามีซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีลูกชายหนึ่งคน มีคำถามดังนี้ค่ะ 1. ดิฉันเข้าใจว่าการที่เราไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันทำให้ลูกชายยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากสามีเสียชีวิตไปโดยไม่มีพินัยกรรม ลูกชายจะมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่คะ แล้วถ้าการเสียชีวิตนั้นเป็นเพราะบุคคลอื่นกระทำ จะทำให้ลูกชายไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะทางแพ่งหรือไม่ ต้องแก้ไขอย่างไร 2. การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องทำอย่างไร การที่สามีเป็นคนแจ้งเกิดลูกชายถือว่าใช้ได้หรือเปล่า หรือต้องจดทะเบียนอย่างอื่นอีก 3. ถ้าดิฉันเกิดเสียชีวิตไปก่อน สามีเขาจะสามารถเป็นผู้ปกครองบุตรตามกฎหมายได้หรือไม่ หรือว่าดิฉันควรจะไปจดทะเบียนสมรสกันดีคะ ที่ยังไม่ได้จด เพราะไม่ต้องการให้ยุ่งยากในเชิงธุรกิจ เรื่องการให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมต่าง ๆ รวมถึงการติดแบล็กลิสต์ด้วย เพราะถ้าจดกันแล้ว เกิดคนใดคนหนึ่งติดแบล็กลิสต์ อีกคนหนึ่งก็จะพลอยไปด้วย จริงหรือเปล่าคะ
    คำตอบ
    1. ใช่แล้ว ตามกฎหมายนั้นเด็กเกิดมาต้องมีแม่ แต่ไม่จำเป็นต้องมีพ่อ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส สภาพความเป็นสามีภริยาย่อมไม่เกิด เด็กที่เกิดมาจึงเป็นลูกของมารดา ส่วนบิดานั้นจะเกิดก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร เมื่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับชาย จึงไม่ได้เป็นอะไรกัน จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรม แต่ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น แม้ไม่ใช่เป็นบุตร หากได้รับการอุปการะเลี้ยงดูกันอยู่ ถ้ามีคนมาทำให้ผู้อุปการะเสียชีวิต ผู้อยู่ในอุปการะก็อาจเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำให้เสียชีวิตได้ 2. ก็เพียงแต่ไปยื่นคำขอจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร ถ้าบุตรโตพอที่จะตอบคำถามได้และมารดาไม่ขัดข้อง ก็จดทะเบียนได้เลย แต่ถ้าเด็กยังไม่รู้ความก็อาจต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ การที่ชายเป็นผู้แจ้งเกิดโดยลงในใบแจ้งเกิดว่าเป็นบิดา ย่อมเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่จะทำให้ร้องขอต่อศาลให้สั่งว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ 3. ถ้าเห็นแก่ประโยชน์ทางธุรกิจถึงเพียงนั้น ก็ไปจดทะเบียนกันสัก 2 - 3 วัน แล้วก็หย่ากันเสีย โดยผลที่บิดามารดาจดทะเบียนกัน ย่อมทำให้เด็กที่เกิดก่อนสมรส กลายเป็นเด็กชอบด้วยกฎหมายของชาย มีชัย ฤชุพันธุ์ 15 พ.ย. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 พฤศจิกายน 2547