ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012215 พินัยกรรมขวัญ22 ตุลาคม 2547

    คำถาม
    พินัยกรรม
    เมื่อปี 2537 พ่อได้ว่าจ้างทนายมาเขียนพินัยกรรมที่บ้าน และได้นำพินัยกรรมไปฝากไว้ที่อำเภอ 6 ปีต่อมา พ่อก็ได้ไปขอคืนมา แต่ยังไม่ได้ทำลายเก็บไว้ในตู้เซฟ ปลายปี 2545ได้มีการทำพินัยกรรมขึ้นใหม่ เนื่องจากพ่อไม่สบายเป็นมะเร็ง พินัยกรรมเซ็นชื่อที่บ้าน โดยเนื้อหาของพินัยกรรมมี 3 หน้า และพ่อเซ้นชื่อที่หน้าสุดท้ายเพียงหน้าเดียว(เนื่องจากสติสัมปะชัญญะไม่น่าจะครบถ้วน คือซึมๆ เซ็นก็ไม่เหมือนลายเซ็นเดิม) แต่พี่เขาพิมพ์ข้อความของพินัยกรรมว่า ทำที่โรงพยาบาล ลงวันที่ย้อนหลังเป็นเดือน โดยมีนพ.ที่รักษาเซ็นรับรองว่ายังมีสติครบ กับมีทนายเซ็นรับรองถูกต้อง และตัวพี่เขาเซ็นเป็นพยาน ตอนนี้พ่อเสียชีวิตแล้ว และแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเรียบร้อย พร้อมกับได้โอนทรัพย์มรดกไปให้ทายาทเกือบครบถ้วนหมดแล้วตามที่เขียนในพินัยกรรม ยกเว้นแต่เรื่องการจดทะเบียนสิทธิอาศัยกับสิทธเก็บกินให้น้องๆ ซึ่งพี่คนที่ได้ที่ดินไป ช่วงแรกๆก็บอกว่าจะจดให้ พอตอนนี้ได้รับโอนที่ดินแล้ว เมื่อ ธันวา 2546 เขาเปลี่ยนใจไม่ยอมจดให้แล้ว จึงมีการฟ้องร้องกันอยู่ขณะนี้ ขอเรียนถามอาจารย์ว่า 1. หากความจริงปรากฎและพิสูจน์ได้ว่า ทั้งหมอ และ ทนายที่เซ็นในพินัยกรรมรับรอง นั้น เป็นเท็จ พินัยกรรมฉบับบนี้จะถือเป็นโมฆะรึป่าว 2. หากเป็นโมฆะ จะต้องใช้พินัยกรรมที่ทำไว้เมื่อปี 36 แทนหรือไม่ หากยังมีต้นฉบับอยู่ เท่าที่เห็นตอนนี้ มีแต่สำเนา หรือว่าใช้ไม่ได้แล้ว โดนยกเลิกทั้งหมด แล้วใช้วิธีหารเท่าๆกันตามจำนวนทายาทที่มีอยู่ 3. ได้มีการโอนที่ดินไปให้พี่คนรอง ด้วยเข้าใจว่าพ่อยกให้เขา และได้เขียนไว้ในพินัยกรรมชัดเจน แต่เพิ่งนำพินัยกรรมไปให้สนง.อัยการจังหวัดช่วยอ่านและอธิบาย เจ้าหน้าที่ของ สคช. บอกชัดเจนว่า ที่ดินผืนนั้นในพินัยกรรมไม่ได้ยกให้พี่คนรอง หรือยกให้ทายาทคนอื่นๆเลย การเรียกร้องขอที่ดินคืนจากพี่คนรองจึงเกิดขึ้น ขอถามว่ามีอายุความหรือไม่ โดยฟ้องร้องไปยังผู้จัดการมรดก ขอรบกวนอาจารย์ช่วยกรุณาตอบ
    คำตอบ
    1.-2. ถ้าเป็นเท็จ พินัยกรรมย่อมเป็นโมฆะ พินัยกรรมฉบับเดิมย่อมใช้ได้ เว้นแต่พินัยกรรมฉบับเดิมก็ถูกทำลายโดยเจ้ามรดกเอง ในกรณีเช่นนั้น ก็จะกลายเป็นมรดกไม่มีพินัยกรรม 3. อายุความในการฟ้องร้องเรื่องมรดกตามพินัยกรรม มี ๑ ปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิของตนตามพินัยกรรม 2. ขึ้นอยู่้ มีชัย ฤชุพันธุ์ 21 ต.ค. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 ตุลาคม 2547