ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012194 สัญญาเงินกู้กนก22 ตุลาคม 2547

    คำถาม
    สัญญาเงินกู้
    เรียน คุณมีชัย ทราบ ผมมีข้อสงสัยทางกฏหมายอยากให้คุณมีชัยกรุณาช่วยตอบ ภรรยาของผมได้ทำสัญญาเงินกู้จำนวนสามฉบับกับเจ้าหนี้รายหนึ่ง โดยฉบับที่ 1 และ2 มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินสองแปลงใว้เป็นประกัน ภรรยาของผม ณ ตอนนี้มิได้อยู่ในฐานะที่จะใช้เงินคืนได้ แต่แทนที่ทางเจ้าหนี้จะเรียกร้องขอยึดทรัพย์สินที่ได้จดทะเบียนใว้เป็นประกัน ทางเจ้าหนี้กลับรวมหนี้ทั้งหมดและมาเรียกร้องขออายัดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอีกแปลงหนื่งซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ในความเห็นของผมสัญญาเงินกู้ที่ 1 และ 2 มีทรัพย์สินเป็นประกันอยู่แล้วหากผู้ให้สัญญามิทำตามสัญญาผู้รับสัญญาหรือเจ้าหนี้ควรที่จะมิสิทธิ์ที่จะเรียกร้องขอยึดทรัพย์ที่เป็นประกันมิใช่ที่ดินอื่นซึ่งมิมีการระบุในสัญญาเงินกู้ตั้งแต่แรก มิทราบว่าความเห็นของผมถูกหรือผิดขอความกรุณาคุณมีชัยช่วยชี้แนะด้วย ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
    คำตอบ
    เรียน คุณกนก คำถามนี้เคยถามมาและตอบแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบดูปรากฏว่าเกิดการผิดพลาดทางเทคนิค ทั้งคำถามคำตอบได้ถูกลบหายไปจากกระดานคำตอบ เลยต้องตอบให้ใหม่ อันทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ย่อมตกอยู่ภายใต้อาณัติที่เจ้าหนี้จะนำมาชำระหนี้ได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าถ้าทรัพย์สินใดมีการจำนองกันไว้ เจ้าหนี้ที่รับจำนองย่อมมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้รายอื่นที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อน เพราะฉะนั้นถ้าเจ้าหนี้เห็นว่าทรัพย์สินที่จำนองไว้จะไม่เพียงพอชำระหนี้ ก็อาจนำยึดทรัพย์สินอื่นด้วย แต่ถ้าเราสามารถพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินที่จำนองมีมูลค่าล้ำหนี้ ก็อาจขอให้ศาลสั่งปล่อยการยึดได้ มีชัย ฤชุพันธุ์ 19 ต.ค. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 ตุลาคม 2547