ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012146 ถนนซอยในที่ดินแบ่งขายsong14 ตุลาคม 2547

    คำถาม
    ถนนซอยในที่ดินแบ่งขาย
    รบกวนอีกซักครั้งครับ ที่ดินจัดสรรแปลงละ 100 วาเท่ากันทุกแปลงประมาณว่า 500 แปลง แต่เกิดมีการโกงกันขึ่้นเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว โครงการทำสาธารณูปโภคจึงล้มไป และชาวบ้านใครมีเงินที่เหลือไปให้ก็จะได้โฉนด ผมก็ซื้อต่อมาอีกทีหนึ่ง และทางกรรมการหมู่บ้านซซึ่งรวมกลุ่มกันเองก็จดภาระจำยอมถนนเมนใให้ แต่ผมมาทราบภายหลังว่าจากถนนเมนเข้าซอยบ้านผมเป็นซอยซึ่งมีชื่อนิติบุคคลเป็นเจ้าของและจากการสอบถาม ซอยทุกซอยก็มีเจ้าของเหมือนกันหมด (จากถนนเมนหมู่บ้านมี 20 ซอย) ผมอยากเรียนถามว่า เจ้าของเดิมได้โฉนดมาเมื่อ 20 ปีที่แล้วและใช้ซอยนี้เป็นทางเข้าออกมาตลอดถือเป็นทางเข้าออกภาระจำยอมแล้วหรือยัง และผมซื้อต่อมาประมาณ 6 ปี ผมได้สิทธินี้หรือไม่ และถ้านิติบุคคลเจ้าของถนนจะเรียกร้องเงินทองในภายหลังได้หรือไม่ ขอบคุณมากครับ (ลักษณะพื้นที่ เป็นที่ดินแบ่งขายแปลงละเท่า ๆ กัน มีถนนเมนซึ่งเจ้าของที่ดินยินยอมให้จดภาระจำยอม และมีซอยเข้าไปในที่ดินที่แบ่งขายซอยละ 20 แปลงประมาณ 10 ซอย) ผมมาอยู่ที่หลังเลยไม่รู้ว่าจัดสรรกันยังไงถนนเข้าซอยถึงมีเจ้าของทุกซอย
    คำตอบ
    โดยหลักทั่ว ๆ ไป ซอยเหล่านั้น ถ้าไม่กลายเป็นทางทรัพย์สินส่วนรวม ก็เป็นทางภาระจำยอม ที่เจ้าของไม่อาจนำไปทำอะไรได้แล้ว เว้นแต่จะมีข้อเท็จจริงอย่างอื่น มีชัย ฤชุพันธุ์ 12 ต.ค. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 ตุลาคม 2547