ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012143 ความหมายของกฏหมายสมภพ14 ตุลาคม 2547

    คำถาม
    ความหมายของกฏหมาย
    อยากทราบความหมายของ กฏหมายบ้านเมือง ครับ แปลว่าอะไร แล้วผมสามารถหาหนังสือชื่ออะไร ไปอ่านเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นบ้าง ขอบคุณครับ
    คำตอบ
    ในทางวิชาการ กฎหมายก็คือ คำสั่งคำบังคับของผู้มีอำนาจรัฐาธิปัตย์ ที่ใช้บังคับกับบุคคลทั่วไปอย่างเท่่าเทียมกัน ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ย่อมได้รับผลร้าย ในทางปฏิบัติ กฎหมาย คือกฎเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้คนปฏิบัติตาม แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายเขียนไว้ แต่มักจะไปปฏิบัติตามช่องโหว่หรือช่องว่าง ที่บังเอิญมีอยู่ หรือในกรณีเข้าตาจน หาช่องโหว่ ช่องว่าง ไม่ได้ จะทำกันอยู่ 2 ทาง ทางหนึ่งคือ ไม่ปฏิบัติตามเสียเฉย ๆ อย่างนั้นแหละ ใครจะทำไม พอถูกจับเข้า ก็จะโวยวายว่าถูกกลั่นแกล้ง เพราะทีคนอื่นทำผิดทำไมไม่ไปจับ หรือถ้าเป็นกรณีที่เป็นที่สนใจของ NGO ก็อาจโวยวายว่าเป็นการรังแกประชาชน ส่วนอีกทางหนึ่ง ก็คือพยายามวิ่งเต้นหาผู้มีอำนาจ เพื่อจะได้ละเลยไม่บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยยอมเสียเงินเสียทองเป็นการตอบแทนบ้าง เลี้ยงดูปูเสื่อบ้าง ซึ่งบางที เงินทองที่เสียไปเป็นการตอบแทนหรือค่าเลี้ยงดูปูเสื่อ อาจจะมากกว่าค่าปรับที่ต้องชำระตามกฎหมายด้วยซ้ำไป ถ้าอยากศึกษา ก็ลองไปซื้อตำราว่าด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปมาอ่าน มีชัย ฤชุพันธุ์ 12 ต.ค. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 ตุลาคม 2547