ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051865 คนไทยจะเสียเงินฟรีสามพันล้านบาทในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 หรือไม่policemajor@hotmail.com14 เมษายน 2559

    คำถาม
    คนไทยจะเสียเงินฟรีสามพันล้านบาทในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 หรือไม่
    วันที่ 14 เมษายน 2559
    เรียน อาจารย์มีชัยฯ ที่เคารพ
          ต้องขอนุญาตอาจารย์มีชัยฯ  กลับมารบกวนเพื่อขอคำแนะนำและความเห็น  หลังจากที่หายไปนาน
          1.ด้วยกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยในขณะนี้คือรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557  มาตรา 14  เข้าใจว่า ร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.....เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  จึงต้องเสนอโดยคณะรัฐมนตรี  เพื่อให้ สนช.พิจารณา  และ  สนช.ได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ข่าวว่าอยู่ในขั้นตอนนำเสนอเพื่อทูลเกล้าฯ...
          2.ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อ้างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 39/1  เพื่อเสนอ"ร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ"ดังกล่าว  เพื่อให้โปรดเกล้าฯลงมา...
          3.แต่รัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 37 วรรค 3  บัญญัตว่า  "...ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดและบทกำหนดโทษมาใช้บังคับแก่การดำเนินการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญนี้ด้วย..."...
          4.แต่ปรากฏว่า  ในร่างฯที่กำลังเสนอเพื่อให้โปรดเกล้าฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดและบทกำหนดโทษ  ซึ่งปรากฏใน  หมวด 3 การควบคุมการออกเสียงและบทกำหนดโทษ  มาตรา 56 ถึง มาตรา 65/2  มีบทบัญญัติที่แตกต่างกับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ปรากฏใน หมวด ๑๐ ความผิดและบทกำหนดโทษ มาตรา 38 ถึง มาตรา 45...

          ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์มีชัยฯ  2  คำถาม  ดังนี้
          1.ในเมื่อรัฐธรรมนูญ 2557 บัญญัติไว้ชัดเจนกำหนดความผิดและบทลงโทษการออกเสียงประชามติไว้ใน มาตรา 37 วรรค 3 แล้ว  คณะรัฐมนตรีและ สนช.สามารถเสนอกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ  เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมไปจากรัฐธรรมนูญ  ได้หรือไม่
          2.รัฐธรรมนูญ 2557 มาตรา 39/1 วรรค 5  หากต้องออกเป็น"พระราชบัญญัติฯ"  ต้องไม่มีบทบัญญัติในส่วนของ"ความผิดและบทกำหนดโทษ"  ใช่หรือไม่
                    ด้วยความเคารพ
           policemajor@hotmail.com

      
    คำตอบ
    มาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญาฉบับชั่วคราว ใช้สำหรับกรณี คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ   ส่วนกรณีที่กำลังดำเนินการอยู่ปัจจุบันเป็นไปตามมาตรา ๓๙/๑  ตามรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๑ ประกอบกับ มาตรา ๓๙/๑ วรรคห้า ซึงเพิ่มเติมโดยฉบับที่ ๒ ซึ่งกำหนดให้ออกกฎหมายว่าด้วยการลงประชามติขึ้นใหม่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 เมษายน 2559