ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044911 กกต.กับกฎหมายผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.policemajor@hotmail.com10 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    กกต.กับกฎหมายผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

    วันที่  10  มิถุนายน  2554

    เรียน  อาจารย์มีชัยฯ ที่เคารพ

          ขออนุญาตอ้างอิงข้อมูลดังต่อไปนี้

          หนึ่ง.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 1) พ. ศ. 2554 โดยเฉพาะ... มาตรา ๙๗ การจัดทำบัญชีผู้รับสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย (๒) รายชื่อในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้นและไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา ๙๔ และ (๓) จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข ...

          สอง.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 โดย เฉพาะ...มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่พรรคการเมืองใดจะเสนอบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองนั้นจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อ โดยมี หลักเกณฑ์ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (๑) พรรคการเมืองจะเสนอรายชื่อบุคคลใดต้องได้รับความยินยอมเป็นหลักฐานโดยชัดแจ้งจากบุคคลนั้น และบุคคลดังกล่าวต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่จะเสนอรายชื่อเพียงพรรคเดียว (๒) ให้จัดทำบัญชีรายชื่อตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยจัดเรียง ลำดับรายชื่อผู้สมัครตามลำดับหมายเลขจำนวนไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบห้าคน

             บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจาก ภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม ...

          สาม...เมื่อปี พ.ศ.2520 คณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติได้เสนอ ครม. และ ครม.ในสมัยนั้นได้มี มติ ครม. แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค และราชบัณฑิตยสถานได้ใช้เป็นทางการตลอดมา คือ...

                   ๑. ภาคเหนือ มี ๙ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์

                   ๒. ภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และอีก ๒๑ จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

                   ๓. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๑๙ จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี

                   ๔. ภาคตะวันออก มี ๗ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

                   ๕. ภาคตะวันตก มี ๕ จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์

                   ๖. ภาคใต้ มี ๑๔ จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา ...

          ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์  ดังนี้

              1.พรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ส่งรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ(ไม่เกิน 125 คน)  รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมาจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม   ใช่หรือไม่ครับ

              2.คำว่า..."จากภูมิภาคต่างๆอย่างเป็นธรรม"... ในความหมายของอาจารย์  หมายถึงอะไรครับ

              3.เป็นอำนาจหน้าที่ของ "กกต." ในการตรวจสอบความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 97 (1)  และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 15 แก้ไขมาตรา 41 วรรค2  ใช่หรือไม่ครับ

              4.เคยเรียกร้องและร้องเรียนไปที่ กกต. เพื่อขอให้ประกาศต่อท้ายรายชื่อผู้สมัครแต่ละคนในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ว่า ที่อยู่ปัจจุบันของผู้สมัครแต่ละคนอยู่"จังหวัดใด"(เพราะหลักฐานการสมัครต้องมีสำเนาทะเบียนบ้านอยู่แล้ว  ไม่ต้องเอาถึงขนาด บ้านเลขที่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ก็ได้  ขอแค่ จังหวัด ก็พอ)  เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนช่วยร่วมตรวจสอบ  แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจาก กกต.  อาจารย์จะแนะนำให้ทำอย่างไรครับ

              5.หากภายหลังการเลือกตั้งแล้ว  ตรวจสอบได้ว่า  พรรคการเมืองนั้นๆ  ไม่ได้กระจายรายชื่อตามภูมิภาคต่างๆอย่างเป็นธรรม

                    5.1ถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.หรือไม่

                    5.2ถือได้ว่า  พรรคการเมืองนั้นๆ จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่  และเป็นเหตุให้อาจถูกยุบพรรค ได้หรือไม่

                                ด้วยความเคารพ

                             policemajor@hotmail.com

    คำตอบ

    1. เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เช่นนั้น ก็ต้องเป็นไปตามนั้น

    2. บังเอิญผมไม่มีความหมายเฉพาะของตัวเอง

    3. ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและยุติธรรม ไม่แน่ใจว่า กกต.ท่านถือว่าการทำให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายรวมอยู่ในความหมายของ "สุจริตและยุติธรรม" หรือไม่ ถ้าถือว่าใช่ ก็เป็นหน้าที่ของ กกต.ที่จะต้องตรวจสอบ  แต่ถ้าท่านถือว่าไม่ใช่ ก็คงไม่ใช่หน้าที่ของท่าน พรรคการเมืองและชาวบ้านต่างต้องช่วยกันดูเอาเองกระมัง

    4. ไม่รู้จะแนะนำอย่างไร

    5  (๑)ถ้าท่านถือว่าไม่ใช่หน้าที่ของท่านที่จะต้องดูว่าใครทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็จะไปว่าท่านว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่คงไม่ได้  แต่ถ้าเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องดูไม่ให้ใครทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แล้วท่านไม่ดู ก็คงต้องไปดูที่เจตนากันกระมัง

        (๒) พอถึงเวลาเอาเรื่องกันขึ้น พรรคการเมืองก็คงซวยอีกตามเคย  ความจริงการที่เขาจะปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างไรนั้น ดูเหมือนเป็นหน้าที่ของ กกต.ที่จะต้องออกระเบียบมาบอกให้รู้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 มิถุนายน 2554