ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034758 การเมืองเอส.เอ็ม.21 เมษายน 2552

    คำถาม
    การเมือง

    เรียนอาจารย์ที่เคารพ ผมอยากเรียนถามเป็นความรู้ว่า ข้อแตกต่างของนักการเมืองต่างประเทศ(เฉพาะที่เจริญแล้ว) กับ ไทย คล้ายกัน หรือแตกต่างกันอย่างไรจะมีลักษณะผูกขาดเหมือนคนไทยที่นำเอาบุคคลในครอบครัว ญาติ หรือคนที่สามารถควบคุมกันได้มาสมัครเป็นผู้แทนราษฎร บางคนไม่มีความสามารถอะไรหรือบางคนพูดจาวกวนไม่รู้เรื่อง แต่สามารถผ่านการเลือกตั้งเป็น ส.ส. เข้ามาได้ นักการเมืองท่านหนึ่งเคยพูดในสภาว่า " ส.ส.เป็นเช่นไรย่อมแสดงให้เห็นถึงประชาชนคนที่เลือก ส.ส. เข้ามาว่าเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน " เจ็บปวดมากครับ คนไทยเชื่อคนง่ายครับ เพียงแค่คนที่เราเคารพนับถือบอกว่าให้เลือกเบอร์นั้น เบอร์นี้ ก็เลือกครับ และยังมีกรณีแจกเงิน เราเลือกคนที่จะมาบริหารประเทศชาติ ทำไมเราไม่เลือกจากภูมิหลัง ความซื่อสัตย์ ความรู้ ความสามารถ ให้มาเป็นตัวแทนเข้ามาบริหารประเทศชาติ และระหว่าง ส.ส. หรือตัวแทนของเรา เรากับเขาต้องสามารถพูดคุยกันได้ ไม่ใช่ก่อนเลือกตั้งเขาไหว้เรา แต่หลังเลือกตั้งเราต้องไหว้เขา ไปนั่งยอง ๆ กราบกรานเขา ตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งครับ อันนี้เห็นจากคนงานไทยที่มาทำงานต่างประเทศ คนไทยจะมีลักษณะทำงานเรื่อย ๆ เนิบ ๆ ช้า ๆ ดูแล้วไม่ว่องไวเหมือนต่างชาติ คนไทยขี้เกรงใจ ไม่ค่อยกล้า (หมายถึงส่วนใหญ่) เมื่อเปรียบเทียบกับต่างชาติแล้ว ทำงานเร็ว ผมไปนั่งร้านอาหารในแอล.เอ. ทานอาหารเสร็จยังนั่งคุยกันอยู่ ของหวาน(แถม)พร้อมใบเสร็จมาวางแล้วครับ ไม่เกรงใจกันเลย หรือว่าการเมืองขึ้นอยู่กับลักษณะอุปนิสัยคนไทยด้วย และสุดท้ายคนต่างชาติ รู้สึกว่าเขาไม่ค่อยสนใจการเมือง ไม่ค่อยสนใจนักการเมืองเท่าไร ขอแค่ใครสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้เขาได้ เขาเลือก ถ้าไม่ได้ ไม่เลือก และต้องตรวจสอบได้ ถ้าโกง ดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกเหนือจากที่ผมยกตัวอย่างมาแล้ว ผมอยากทราบเป็นวิทยาทานความรู้จากอาจารย์ครับ กราบขอบพระคุณครับ      

    คำตอบ

    คุณก็บอกข้อแตกต่างมาค่อนข้างจะครบถ้วนดีอยู่แล้วนี่  มีข้อแถมนิดเดียวตรงที่คุณบอกว่าคนต่างชาติเขาไม่ค่อยสนใจการเมืองนั้น เห็นจะไม่จริง เพียงแต่วิธีสนใจของเขานั้น อยู่ที่การศึกษาด้วยการอ่านเอกสารเพื่อให้รู้จริง แต่คนไทยชอบฟังไม่ชอบอ่าน และไม่ค่อยศึกษาอะไรให้รู้จริง ดูแต่ในปัจจุบันนี้ที่กำลังมีการรณรงค์ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยจะให้ยกเลิกฉบับ 2550 เพื่อกลับไปใช้ 2540 เหตุผลหนึ่งที่ใช้เป็นข้ออ้างก็คือ รัฐธรรมนูญ 2550 มีการจัดตั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง อันเป็นศาลที่คอยรับพิจารณาคดีอาญาที่นักการเมืองกระทำผิด และเป็นศาลเดียวไม่มีการอุทธรณ์ฎีกากันอีก  ทุกคนก็พลอยเห็นคล้อยตาม (แม้แต่นักวิชาการบางคน)  โดยไม่มีใครสนใจที่หันกลับไปเปิดรัฐธรรมนูญปี 2540 ดูว่า ที่แท้แล้ว ระบบศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ได้รับการจัดตั้งให้มีขึ้นมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540  ส่วนรัฐธรรมนูญ 2550 เพียงแต่ไปลอกเอาของปี 2540 มาเท่านั้น แต่ไม่ได้ลอกเฉย ๆ ได้ขยายความให้สิทธิแก่ผู้ต้องหามากขึ้น กล่าวคือ ถ้ามีหลักฐานใหม่ที่สำคัญ ก็อาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ของผู้พิพากษาศาลฎีกาได้ ซึ่งเท่ากับให้มี ๒ ศาล แทนที่จะเป็นศาลเดียวอย่างรัฐธรรมนูญปี 2540


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 เมษายน 2552