ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    028664 ตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่คนไทยมุสลิม16 มิถุนายน 2551

    คำถาม
    ตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่

    เรียนท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ
     กระผมอยากทราบว่า
      ผู้สมัคร สส.จังหวัดหนึ่ง ในขณะยื่นใบสมัครเป็น สส.นั้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวนี้เป็นตำแหน่งที่มีระบุไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคท้าย  กระผมได้อ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543ได้ให้คำนิยาม"เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ"หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีสถานะ ตำแหน่งหน้าที่ หรือลักษณะงานทำนองเดียวกันกับพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย 2.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำ 3.อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ 4.มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ตามกฎหมาย ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้เขาบอกว่าตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เพราะในการใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่จะต้องเป็นมติของคณะกรรมการ แต่ละคนไม่สามารถใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยตนเองตามลำพัง  ผมเลยมีข้อข้องใจว่า ถ้าเป็นตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งแม้จะเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดด้วย แต่ก็มีตำแหน่งเฉพาะตัวที่ใช้อำนาจตามกฎหมายได้โดยลำพัง  เมื่อเทียบกับคำนิยามเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐแล้ว   ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้นเป็นตำแหน่งที่ระบุไว้ใน พรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคท้าย มีการประกาศการแต่งตั้งในราชกิจจานุเบกษา, มีอำนาจหน้าที่เฉพาะตัวที่กฎหมายให้อำนาจในการเป็นประธานการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดทั่วจังหวัดเพื่อคัดเลือกตามระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจกฎหมาย (ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ฯ ออกโดยอาศัยอำนาจกฎหมาย),มีอำนาจหน้าที่ประจำตามที่กฎหมายบัญญัติ คือดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในระหว่างที่ตนมีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี (กรรมการอิสลามประจำมัสยิดจะมีวาระ 4 ปี และหมดวาระไม่พร้อมกัน จังหวัดใหญ่ๆ มีหลายร้อยมัสยิด จึงต้องมีการคัดเลือกกันทั้งปี ) ,การปฏิบัติหน้าที่ก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ตามมาตรา 5 คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฯ และได้รับค่าตอบแทนจากรัฐตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘  
     กระผมจึงอยากทราบว่า
     1.ตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ตามพรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่ครับ
     2.จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 นี้ ถ้าเป็นการทำงานของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย  หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ที่ทำผิดระเบียบหรือกฎหมายในหน้าที่ของตน  จะถือว่าเป็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่  ครับ
     3.เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ถ้าหากปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จะมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือไม่ครับ
     4.การขอถอดถอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ขาดคุณสมบัติ จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างครับ
                           ขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ
                                          ชาวไทยมุสลิม
     

    คำตอบ

    เรียน คนไทยมุสลิม

    1. ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะเป็นเรื่องทางศาสนาไม่เกี่ยวกับอำนาจรัฐ

    2. ไม่ถือ

    3. มี

    4. ถ้าเป็นเรื่องของคุณสมบัติก็ต้องให้สมาชิกด้วยกันเองเข้าชื่อ หรือให้ กกต.เป็นผุ้ตรวจสอบและร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 มิถุนายน 2551