ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    027624 อำนาจบริหารและนิติบัญญัติประวิทย์21 เมษายน 2551

    คำถาม
    อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ

    เรียนถามอาจารย์มีชัย

    เท่าที่ทราบมาในประเทศไทยของเรามีการปกครองโดยใช้ 3 อำนาจหลักเพื่อถ่วงดุลย์กัน (นิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร) อยากจะทราบทำไมถึงได้เอาอำนาจนิติบัญญัติไปผูกติดไว้กับฝ่ายบริหารครับ

    เวลาเราไปเลือกตั้ง เราก็ไปเลือกฝ่ายนิติบัญญัติ แล้วฝ่ายนิติบัญญัติก็ไปเลือกนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร แต่แล้วกลับกลายเป็นว่า ฝ่ายบริหารกลับมาเป็นคนควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ (เพราะเป็นหัวหน้าพรรค) ดูแล้ว 2 อำนาจนี้มันดูสัมพันธ์กันจนคล้ายๆจะป็นอำนาจเดียวกัน คนที่เป็นนายกก็เป็นหัวหน้าพรรคของคนที่เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ดูแล้วคล้ายกับว่านายกสั่งประธานสภาได้

    ทำไม 2 อำนาจนี้ถึงต้องผูกติดกันด้วยครับ

    ขอบพระคุณครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณประวิทย์

        เพราะประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภา แต่ในระบอบรัฐสภานั้นแม้ว่าตามทฤษฎีราษฎรจะเลือกฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้เป็นผู้แทนไปควบคุมฝ่ายบริหาร (เพราะจะเป็นคนไปเลือกนายกรัฐมนตรีและคอยกำกับควบคุมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ) ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติคนที่จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีก็จะต้องมีเสียงข้างมากในสภาเป็นผู้สนับสนุน เรื่องจึงกลายเป็นงูกินหาง อย่างที่เป็นอยู่  ซึ่งยังไม่มีนักวิชาการที่ไหนคิดวิธีแก้ไขเรื่องนี้ได้ โดยเฉพาะที่จะให้เหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 เมษายน 2551