ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    025499 อยากให้อาจารย์มีชัยตอบเรื่องฉายาที่นักข่าวสภาตั้งให้ครับอภิมาศ29 ธันวาคม 2550

    คำถาม
    อยากให้อาจารย์มีชัยตอบเรื่องฉายาที่นักข่าวสภาตั้งให้ครับ
    อยากให้อาจารย์มีชัยตอบคำถามการตั้งฉายาของสภานิติบัญญัติ และฉายาของอาจารย์มีชัยเองด้วยครับ ว่าอาจารย์คิดเห็นอย่างไรกับมุมมองที่นักข่าวมองการทำงานของอาจารย์และสมาชิกสนช. ขอบคุณครับ (ผมได้แนบรายละเอียดของฉายาต่างๆ มาด้วยครับ)
     
     
     
     
    ฉายา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้แก่  “ขัน-ที สีเขียว” หลังจากที่สนช.ชุดนี้ได้รับการคัดสรรโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)ให้เข้ามาทำหน้าที่นิติบัญญัติ สมาชิกส่วนใหญ่มาจากสายทหารและข้าราชการประจำ และอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จนถูกมองว่าเป็นสภา “สีเขียว” ทำให้สนช.ชุดนี้มีกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับคมช.และเพิ่มอำนาจทหารมากขึ้น ผ่านการพิจารณาหลายฉบับ โดยเฉพาะ ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรพ.ศ. .... นั้นสนช.ใส่เกียร์เดินหน้าโดยไม่สนใจเสียงคัดค้านอย่างหนักจากองค์กรภาคสังคม และที่ถือได้ว่าเป็นมหกรรมทิ้งทวนของสนช.ชุดนี้คือการทำคลอดกฎหมาย 70 ฉบับภายในเวลาเพียง 3 วัน สิ่งเหล่านี้ตอกย้ำให้เห็นการกระทำว่าสนช.มีกริยาเปรียบได้กับ “นกเขา” เมื่อเจ้าของดีดนิ้วก็พร้อม “ขัน” ตอบรับตามสัญชาตญาณทันที
     
    ฉายาประธาน สนช.นายมีชัย  ฤชุพันธุ์  ได้แก่ “ซีอีโอ สนช.”  นายมีชัย ถือเป็นนักกฎหมายระดับปรมาจารย์ ที่ได้รับความไว้วางใจจากทุกกลุ่มอำนาจตลอดมา ซึ่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์ทางการเมือง นายมีชัย ยังได้รับความไว้วางใจจาก คมช. ให้มาเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งนายมีชัยก็ไม่ได้ทำให้ผู้แต่งตั้งผิดหวัง เมื่อสามารถลำเลียงกฎหมายที่รัฐบาลและคมช.ต้องการ เข้าสู่ที่ประชุมได้อย่างไม่บกพร่อง และใช้ความเด็ดขาดในการควบคุมการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ยังใช้ฝีมือบวกความเก๋าสยบความขัดแย้งและความแตกแยกระหว่างสนช.กลุ่ม ก๊ก ต่างๆได้เป็นอย่างดี  ทำให้สมาชิกมีความยำเกรงในตัวนายมีชัย ราวกับพนักงานบริษัทที่เกรงอกเกรงใจซีอีโอของบริษัทเลยทีเดียว
     
     
     
     
    คู่กัดแห่งปี ได้แก่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ กับ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ  แม้จะมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกันคือคมช. แต่ก็อยู่คนละกลุ่ม ตั้งแต่วันแรกที่สนช.ตั้งไข่ ทั้งคู่ก็กลายเป็นหนามตำใจของกันและกัน เมื่อเป็นแคนดิเดตชิงตำแหน่งประธานสนช.แต่ศึกยกแรกน.ต.ประสงค์ พ่ายไปอย่างราบคาบ หลังจากนั้นก็ตั้งป้อมใส่กันแบบไม่เกรงศักดิ์ศรี เพราะต่างเป็นมวยเฮฟวี่เวททั้งคู่ กฎหมายฉบับไหนนายมีชัยหนุน น.ต.ประสงค์ ก็จะค้านอย่างสุดลิ่ม เช่น ร่างพ.ร.บ.ความมั่นคง หรือพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบทั้งหลาย และในช่วงทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ เวทีไหนมีน.ต.ประสงค์ ก็จะไม่มีนายมีชัย เช่นเดียวกันถ้านายมีชัยเข้าไปนั่งหัวโต๊ะวงประชุม ก็จะไม่เห็นเงาน.ต.ประสงค์ เข้าทำนอง “เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้”
     
    วาทะแห่งปี  ได้แก่ “ไปตายเอาดาบหน้า”  เป็นคำพูดที่ออกมาจากปากของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ขณะทำหน้าที่ประธานที่ประชุมสนช.ในระหว่างการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมในวาระ 2 ซึ่งนายมีชัย ได้ทักท้วงว่าคณะกรรมาธิการ(กมธ.)กำหนดรายละเอียดข้อห้ามในการรับของกว้างเกินไป แม้แต่การไปตรวจราชการแล้วประชาชนนำผ้าขาวม้ามาผูก หรือเอาลองกองมาให้กิน ก็ยังรับมาเป็นของส่วนตัวไม่ได้ ต้องนำเข้าเป็นของหลวงเท่านั้น แต่ทางกมธ.ยังยืนยันตามร่างเดิม ทำให้นายมีชัย กล่าวเชิงประชดว่า “ถ้างั้นให้ไปตายเอาดาบหน้าแล้วกัน” จนในที่สุดกมธ.ก็นำร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไปปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง
    ///////////////
    คำตอบ

    ไม่มีความเห็นอะไรหรอก เพราะเป็นเรื่องของคนมอง เข้าทำนองสองคนยลตามช่อง สุดแต่จะเลือกมอง หรือพื้นฐานแห่งความเข้าใจของแต่ละคน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 ธันวาคม 2550