ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    019063 กฎหมายมีผลย้อนหลัง กับสิทธิพื้นฐานการเป็นพลเมืองไทย?ผู้มีใจปราศจากอคติเป็นที่ตั้ง18 ตุลาคม 2549

    คำถาม
    กฎหมายมีผลย้อนหลัง กับสิทธิพื้นฐานการเป็นพลเมืองไทย?

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพนับถืออย่างสูง

            ตามที่สังคมให้ความสนใจเกี่ยวกับการมีผลย้อนหลังของกฎหมาย โดยเฉพาะประเด็นการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ว่าจะมีผลย้อนหลังได้หรือไม่นั้น ซึ่งเป็นประเด็นที่นักกฎหมายหลายท่านให้ความเห็นออกเป็นสองทาง ทั้งได้และไม่ได้ กรณีนี้ผมเองก็หวังว่าศาลเองคงจะสร้างบรรทัดฐานให้กับสังคมต่อไป

            ส่วนตัวผมเองขอแสดงความคิดเห็นว่า ถ้าการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานในการเป็นพลเมืองไทย สามารถมีผลบังคับย้อนหลังได้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงครับ ผมมองว่า การจำกัดสิทธิพื้นฐานดังกล่าว มีความร้ายแรงมากกว่าโทษทางอาญาด้วยซ้ำไป ควรจะมีการบัญญัติและมีผลบังคับไว้ล่วงหน้า

            คงเป็นเรื่องแปลกนะครับ ถ้าวันหนึ่งมีการออกกฎหมาย บังคับใช้ย้อนหลังลงโทษจำคุก ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ..ผมไม่รู้นะครับว่าสังคมเราจะยุ่ง  มากกว่าปัจจุบันแค่ไหน

    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

     

    คำตอบ

    เรียน ผู้มีใจปราศจากอคติเป็นที่ตั้ง

         ตัวอย่างที่ยกมาคงใช้ไม่ได้ เพราะการจำคุก เป็น

    โทษทางอาญา ซึ่งไม่สามารถจะออกเป็นกฎหมายให้มีผลย้อนหลังได้   คำตอบที่ตอบไปนั้น เป็นการตอบโดยพื้นฐานของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เคยมีไว้ในเรื่องกฎหมายฟอกเงิน

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 ตุลาคม 2549