ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018588 การเลือกตั้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้งหนุ่มรักเลือกตั้ง17 กันยายน 2549

    คำถาม
    การเลือกตั้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง

    ผมขอเรียนหารือท่านอาจารย์อันเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ดังนี้

           ๑.กรณีที่พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลได้ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเพื่อสนับสนุนนายกรัฐมนตรีซึ่งมีฐานะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองของตนเอง หรือพรรคการเมืองฝ่ายค้านและกลุ่มบุคคลในภาคประชาชนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเพื่อเป็นการต่อต้านการทำงานของนายกรัฐมนตรี หากการกระทำดังกล่าวอยู่ในช่วงมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาแก้ไขกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปขึ้นมาใหม่ (ที่มีการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ที่มิใช่วันที่ ๑๕ ต.ค. ๔๙) และมีผลใช้บังคับ เช่นนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามมาตรา ๑๔๔ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  จะสามารถพิจารณาเห็นว่า           

    ๑.๑ การกระทำของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายค้าน และกลุ่มบุคคลภาคประชาชนที่ได้กระทำในลักษณะตามข้อหารือดังกล่าวนี้ จะเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนตามมาตรา ๔๔ (๕)แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑ ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงหรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ด้วยวิธีการ หลอกลวง ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ได้หรือไม่

    ๑.๒ ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของบุคคลใดตามข้อหารือดังกล่าวนี้ เป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด อันอาจทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เช่นนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถใช้อำนาจออกคำสั่งตามมาตรา ๘๕/๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้หรือไม่

    ๒.กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนการทุจริตเลือกตั้ง ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดดังกล่าวได้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่นนี้ คณะอนุกรรมการฯจะยังคงมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวได้หรือไม่ และคณะอนุกรรมการฯชุดดังกล่าวจะต้องพ้นจากตำแหน่งนี้ตามคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือไม่

      

    คำตอบ

    1. 1. มาตรา ๔๔ (๕) บัญญัติไม่ให้ใครหลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด  การจะเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวหรือไม่ จึงขึ้นอยู่ที่ว่าในการพูดจากนั้น "มีลักษณะใส่ร้ายด้วยความเท็จ" หรือไม่

    1.2  ถ้าเข้าข่ายตาม 1.1  กกต.ก็ย่อมมีอำนาจสั่งระงับการกระทำนั้นได้

    2. เมื่อคณะกรรมการที่เป็นผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด อนุกรรมการก็ย่อมพ้นไปด้วย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 กันยายน 2549