ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018290 สิทธิในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญคนไทยรักสันติ23 สิงหาคม 2549

    คำถาม
    สิทธิในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย

            ผมมีคำถามจะเรียนถามท่านอาจารย์มีชัย เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สิทธิในการแสดงความเห็นตามรัฐธรรมนูญ กับเหตุการณ์ความวุ่นวายที่มีกลุ่มบุคคล เรียกร้องให้ท่านนายกลาออกไป ด้วยถ้อยคำที่จาบจ้วง หยาบคาย ใส่ร้าย ดูหมิ่นซึ่งหน้า โดยใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง อาทิเช่นว่า เป็นคนโกงชาติโกงแผ่นดิน หรือด่าด้วยถ้อยคำเสียๆ หายๆ เป็นต้น และทุกครั้งที่มีเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาก็จะมีนักวิชาการออกมาพูดจาสนับสนุนตลอดว่าสามารถทำได้ แต่ไม่เคยมีใครชี้แจงให้ละเอียดว่า การแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญนั้นสามารถทำได้ และทำได้แค่ไหน และทำได้ในลักษณะใดบ้าง

    หลักกฏหมาย

    รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา มาตรา ๓๙  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น 
    ......การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน

    ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370  ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท

     

    จะเห็นได้ว่าตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 39 วรรคสอง ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 ได้บัญญัติเรื่องกรอบของสิทธิเอาไว้อย่างชัดเจน ผมว่านักวิชาการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องน่าจะสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทราบถึง กรอบของสิทธิในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญนะครับ เพราะที่ผ่านมาก็จะอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญกันตลอด

     

    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

     

    คำตอบ

    เรียน คนไทยรักสันติ

         สิทธิในการแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน  และไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในบ้าน หรือในสิ่งพิมพ์ แต่หมายถึงการแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะด้วย  ใครมีความคิดเห็นอย่างไร จะตรงหรือไม่ตรงกับคนอื่น ก็สามารถไปยืนตระโกนในที่สาธารณะแสดงความคิดเห็นเพื่อให้คนทั่วไปได้รับฟัง เผื่อจะมีคนเห็นด้วย ได้เสมอ ตราบเท่าที่การแสดงความคิดเห็นนั้นไม่ไปกระทบถึงสิทธิของบุคคลอื่น  กฎหมายอาญามาตรา ๓๗๐ ที่คุณอ้างมานั้น บทบัญญัติก็เน้นอยู่แล้วว่า "โดยไม่มีเหตุอันสมควร"  การไปตระโกนแสดงความคิดเห็นเพื่อชักจูงใจให้คนทั่วไปเห็นด้วยนั้น จะบอกว่าไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้  เห็นตำรวจตั้งข้อหาเขาแล้วก็น่าหนักใจ  ความจริงถ้าอ่านประมวลกฎหมายอาญาในภาค ๓ ลหุโทษ ต่อไปอีกไม่กี่มาตรา น่าจะได้อะไรที่ดูน่าจะสมศักดิ์ศรีของตำรวจกว่านี้ (แต่ไม่ได้หมายความว่าตั้งข้อหานั้นแล้ว คนถูกตั้งจะผิดตามที่ตั้งข้อกล่าวหา)

           สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนนั้น อันที่จริงก็ไม่ใช่เป็นเสรีภาพโดยเด็ดขาดที่ไม่มีข้อจำกัด  ถ้าเมื่อไรการแสดงความคิดเห็นนั้นไปกระทบสิทธิของคนอื่น เช่นไปดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท คนอื่นเข้า ก็อาจเป็นความผิดได้ แต่เมื่อเป็นความผิดก็ต้องดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 สิงหาคม 2549