ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018253 กฏหมายการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติany21 สิงหาคม 2549

    คำถาม
    กฏหมายการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติ

    ในฐานะที่ท่าน มีชัย เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านกฏหมาย

    ในกรณีที่บริษัทที่มี สถานะ ต่างชาติ เข้ามา ถือหุ้นใน สายการบินแห่งหนึ่งใน ประเทศไทย

    แล้วภายหลังมาพบว่าเป็นการกระทำที่ผิดหลักกฏหมาย

    ถ้ามองในแง่ กฏหมายจะถือว่า เป็นการกระทำที่ผิดตั้งแต่ต้นเลย แล้วจะต้องถือว่าเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น ที่จะต้องยกเลิกนิติกรรมสัญญาหรือไม่

    หรือถ้าแก้ไข สัดส่วนผู้ถือหุ้นภายหลัง จะทำให้ถือว่าเป็นความผิดแค่เฉพาะช่วงที่มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นผิด กฏหมายแล้วปรับเฉพาะในช่วงนั้นได้หรือไม่ แล้วคุณมีชัยคิดว่าอย่างไรในแง่จริยธรรม กับปัญหานี้

    โดยส่วนตัวในฐานะที่เป็น นักศึกษา ผมมองว่า ถ้าเราใช้เอกสารเท็จในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เราจะถือว่าเป็นโมฆะตั้งแต่ ต้นและต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ไม่สามารถ แค่เอาเอกสารมาเพิ่มเติ่มภายหลังได้

    คำตอบ

    โดยปกติการซื้อขายหุ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคลนั้น ไม่มีข้อจำกัดอะไรที่ว่าจะต้องขายให้คนไทยหรือคนต่างด้าว จะขายให้ใครก็ได้ แต่ถ้าบริษัทที่เป็นเจ้าของหุ้นนั้นประกอบกิจการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นบริษัทไทย เมื่อไรที่บริษัทนั้นแปรสภาพเป็นบริษัทที่ไม่ใช่บริษัทไทย ก็ย่อมขาดคุณสมบัติที่จะประกอบกิจการนั้น  หรือถ้าได้รับสัมปทานอยู่ และมีเงื่อนไขกำหนดว่าบริษัทที่จะได้รับสัมปทานจะต้องเป็นบริษัทไทย ทันทีที่บริษัทนั้นเป็นบริษัทต่างด้าว ก็เป็นการผิดเงื่อนไขของสัมปทาน ผู้มีหน้าที่ก็ต้องเพิกถอนสัมปทานนั้น

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 สิงหาคม 2549