ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016950 การตัดสินคดีของศาลโดยปราศจากอคติบัวรอง21 พฤษภาคม 2549

    คำถาม
    การตัดสินคดีของศาลโดยปราศจากอคติ

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

            1) การซึ่งที่ประชุมศาลฎีกา และที่ประชุมประธาน 3 ศาล ได้เรียกร้องให้ กกต. ลาออก จะเป็นเหตุให้ศาลทั้ง 3 เสียสภาพที่จะปฏิบัติหน้าที่พิจารณาคดีอันเกี่ยวเนื่องกับ กกต.โดยปราศจากอคติทั้งปวง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 252 หรือไม่ จะยกเป็นเหตุขึ้นกล่าวกับทางศาลได้หรือไม่

             2) ในอดีตที่ผ่านมา เคยมีกรณีที่ผู้พิพากษาถูกกล่าวหา ลงโทษ ว่าตัดสินคดีโดยอคติ หรือไม่ และมีโทษอย่างไร

             3) เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ผู้ถูกตัดสินแพ้คดี จะร้องเรียนว่าเป็นการตัดสินโดยอคติ จะต้องไปร้องเรียนกับใคร และจะหมิ่นเหม่กับการถูกดำเนินคดีว่าหมิ่นศาลหรือไม่ มีหลักพิจารณาอย่างไร 

              ขอบพระคุณครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณบัวรอง

         1. ความอิสระของศาลในการพิจารณาคดีนั้น เป็นคนละเรื่องกับ ตัวผู้พิพากษาในฐานะคน ๆ หนึ่ง ซึ่งย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคนอื่นทั่ว ๆ ไป  นอกจากนั้นในการพิจารณาคดี ศาลก็ต้องปราศจากคติ  ซึ่งก็เป็นคนละเรื่องกับการแสดงความเห็นตามสิทธิของคนที่เป็นผู้พิพากษา   ต่อไปเมื่อเกิดมีคดีความขึ้นศาล คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ซึ่งเคยแสดงความคิดเห็นมาก่อน ท่านก็จะไม่มานั่งพิจารณาคดี

         2. ไม่เคยมี  มีแต่ถูกลงโทษเพราะทุจริตหรือประพฤติตนไม่สมควร

         3. กฎหมายมีช่องทางให้อุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปได้ ไม่ใช่เรื่องที่จะร้องเรียน

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 พฤษภาคม 2549