ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016914 การเมืองพจน์18 พฤษภาคม 2549

    คำถาม
    การเมือง

    อาจารย์ครับ

    1.ทำไมกกตซึ่งบอกว่าตนเองบริสุทธ์ ไม่มีทุจริต แต่ทำไมเวลาตัดสินใจอะไรมักตรงกันข้ามกับ สามัญสำนึกของคนส่วนใหญ่ครับ เป็นไปได้ไหมครับว่าอาจจะบริสุทธ์จริงแต่ระดับความสามารถ(competency) ไม่ถึง

    2. ผมถามเด็กที่บ้านซึ่งอยู่ทางอีสานว่าทำไมเลือกพรรคนี้ เขาตอบผมว่าช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมานี้ มีคนบอกเขาว่าถ้าไม่เลือกพรรคนี้ จะถูกยกเลิก 30 บาท รักษาทุกโรค และเงินกองทุนหมู่บ้านจะถูกทวงคือซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีปัญญาหามาคืนเนื่องจากเอาไปใช้ในทางที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หมดแล้ว -การเมืองต้องเป็นแบบนี้หรือครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณพจน์

          1. ถ้ามองอย่างเป็นกลาง ๆ ก็อาจเป็นไปได้ว่า กกต. มองคนละแง่มุมกับคนทั่วไป คิดว่าที่ทำไปนั้นเป็นการดีแล้ว เพียงแต่คนทั่วไปไม่เห็นด้วย  แต่องค์กรใดก็ตามถ้ามีเหตุจนคนหมดความเชื่อถือ หรือไม่ไว้วางใจ ไม่ว่าจะทำอะไร ก็จะดูผิดไปเสียหมด และถึงแม้จะยังดูไม่ออกว่าผิดตรงไหน ก็ยังไม่ไว้วางใจอยู่ดี  การทำงานต่อไปจึงเป็นไปได้ยาก ยิ่งทำไปก็จะยิ่งเสียหายแก่ตัวเองยิ่งขึ้น

         2. การเมืองเป็นเรื่องของการชิงความได้เปรียบ ใครคิดอะไรออกก็มักจะงัดออกมาใช้  แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส.ฯ ได้มีบทบัญญัติห้ามการกระทำบางอย่างไว้ อย่างเช่น ในมาตรา ๔๔ ห้ามไม่ให้หลอกลวง หรือใส่ร้ายด้วยความเท็จ เป็นต้น

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 พฤษภาคม 2549