ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016746 รัฐธรรมนูญ มาตรา๗policeminor@hotmail.com26 เมษายน 2549

    คำถาม
    รัฐธรรมนูญ มาตรา๗

    เรียน อาจารย์มีชัย ที่เคารพ

         ตามที่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา๗  ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด  ให้วินิจฉัย(ให้ใครวินิจฉัย?)กรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ถ้าสมมติว่า จนถึงวันที่ 2 พฤษภา  ยังได้ ส.ส. ไม่ครบ 500 คน  ผมขออนุญาตเรียนถามดังนี้

              1.ผู้ที่มีอำนาจในการวินิจฉัยในมาตรา๗ คือใคร?  เป็นศาลรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ครับ (ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยก่อนว่าจะให้ บุคคลใด หรือองค์กรใด เป็นผู้ให้การวินิจฉัย  เพราะในมาตรา๗ ระบุแต่ "กิริยา" แต่ไม่ได้ ระบุ "ประธานที่เป็นผู้ที่จะทำกิริยานั้น")

              2.ศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิที่จะวินิจฉัย  "ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอำนาจสั่งการตาม มาตรา๗ ได้หรือไม่  คือ วินิจฉัยให้ตนเอง(เพราะถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสียกับการวินิจฉัย)  และศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิวินิจฉัย  " ให้เป็นพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ได้หรือไม่  โดยอาจจะให้ " ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รับสนองพระบรมราชวินิจฉัยตามคำเสนอแนะของประธานศาลรัฐธรรมนูญ

              3.หรือว่าให้เป็นการออกเสียงลงประชามติ  ตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย  ซึ่งในความเข้าใจโดยส่วนตัวของผม  "ผู้ที่ให้การวินิจฉัย" ที่ปรากฎในมาตรา๗ ผมคิดและเข้าใจโดยบริสุทธิ์ใจว่าคือ  "องค์พระมหากษัตริย์"(หากเป็นการคิดที่เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานอภัยโทษ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรด)  แต่เมื่อมาตั้งสติอีกทีและได้ฟังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 25 เมษา  ผมขอใช้สิทธิความเป็นคนไทยคนหนึ่ง ขอพระราชทานอนุญาตกราบบังคมทูล "องค์พระมหากษัตริย์"เป็นผู้ให้พระบรมราชวินิจฉัยและมีพระบรมราชโองการตามมาตรา๗ โดยมีประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  และขออนุญาตเชิญชวนคนไทยทุกๆท่านได้ร่วมกัน "ขอพระราชทานอนุญาตกราบบังคมทูล "องค์พระมหากษัตริย์"เป็นผู้มีพระราชอาญาสิทธิใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา๗ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรด  เพื่อให้พระองค์ท่านได้ปฏิบัติโดยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญรองรับ ถูกต้องตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

                                                ด้วยความเคารพ

                                        policeminor@hotmail.com

    คำตอบ

    เรียน policeminor

           ความหมายของมาตรา ๗ ถ้าพูดเป็นภาษาธรรมดา ๆ ก็คือ ถ้าจะต้องทำอะไร แล้วไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมกำหนดไว้ให้ทำอย่างไรแล้ว  ก็ให้ทำไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   ดังนั้น ใครจะต้องทำอะไร ก็ต้องเป็นคนคิดอ่านเอาเองว่ามีประเพณีการปกครองอย่างไร  แต่เมื่อคิดอ่านทำแล้วถ้ามีคนทักท้วงก็ต้องไปทักท้วงกันที่ศาลรัฐธรรมนูญ

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 เมษายน 2549