ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016717 ความเป็นกลาง/อิสระทางการเมือง ของ สว.บัวรอง23 เมษายน 2549

    คำถาม
    ความเป็นกลาง/อิสระทางการเมือง ของ สว.

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

              ผมขอเรียนถามเรื่องทางการเมืองครับ คือ ผมจะติดตามความเป็นกลางและความเป็นอิสระทางการเมืองของ สว. ได้อย่างไรครับ ?  จะพิจารณาจากสถิติการปฏิบัติงานของแต่ละคนได้หรือไม่ ?

    1) ถ้า สว.คนนั้นอภิปราย/ออกเสียงเห็นด้วยกับรัฐบาลบ่อยๆ คนนั้นก็เอียงเข้าข้างพรรครัฐบาล

    2)ถ้า สว.คนนั้นอภิปราย/ออกเสียงคัดค้านรัฐบาลบ่อยๆ คนนั้นก็เอียงเข้าข้างพรรคฝ่ายค้าน

    3)ถ้า สว. อภิปราย/ออกเสียงเห็นด้วย หรือคัดค้านรัฐบาลครึ่งต่อครึ่ง หรือ งดออกเสียงบ่อยๆ คนนั้นก็เป็นกลาง

    4) ถ้า สว.คนนั้น อภิปราย/ออกเสียง ตรงกับเหตุผล ( ตรงความคิดของผม) บ่อยๆ คนนั้นก็เป็นกลาง

           ท่านอาจารย์จะมีคำแนะนำอย่างไรครับ  เรื่องนี้เป็นปัญหาโลกแตก ไม่มีประโยชน์หรือเปล่า หรือเป็นเรื่องที่ควรเป็นจริงจังติดตามในทางปฏิบัติได้  ขอบคุณครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณบัวรอง

          อันความเป็นกลางนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่สมบูรณ์ในตัว หากแต่เป็นเรื่องของความรู้สึก  และบางทีก็พัฒนาไปถึงขั้นเป็น "อารมณ์"

          ความเป็นกลางของคนหนึ่ง อาจไม่ใช่เป็นความเป็นกลางของอีกคนหนึ่งก็ได้ คนที่อภิปรายเห็นด้วยกับฝ่ายรัฐบาล ๆ ย่อมเห็นว่าเป็นกลางดี แต่ฝ่ายค้านอาจเห็นว่าไม่เป็นกลาง  ในทางกลับกันคนที่อภิปรายไม่เห็นด้วยกับฝ่ายรัฐบาล ๆ ก็จะเห็นว่าไม่เป็นกลาง ในขณะที่ฝ่ายค้านกลับเห็นว่าเป็นกลาง สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับคนทั่ว ๆ ไป ก็ขึ้นอยู่กับว่าแนวโน้มของคนนั้นเห็นด้วยกับฝ่ายไหน เมื่อเห็นด้วยกับฝ่ายไหนแล้ว ใครแสดงความคิดเห็นไปในทางนั้นก็จะรู้สึกว่าคนนั้นเป็นกลาง

          และเมื่อใดที่สังคมพัฒนาไปถึงขั้นใช้เป็นอารมณ์เป็นเครื่องตัดสินแล้ว ความเป็นกลางก็จะไม่มีอยู่จริง

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 เมษายน 2549