ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016696 ผช.รมต.คนตามข่าว20 เมษายน 2549

    คำถาม
    ผช.รมต.

    เรียนอ. มีชัย ฤชุพันธุ์ ที่เคารพ

    หลังจากศาลปกครองสูงสุดพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการแปรสภาพกฟผ. 2 ฉบับ และมีการวินิจฉัยว่า "ผู้ช่วยรัฐมนตรี" เป็น "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ทำให้การแต่งตั้งคุณปริญญา นุตาลัย ผช.รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานคณะกรรมการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมากลับพบว่ารัฐบาลได้แต่งตั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีหลายคนไปดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์การมหาชนหลายองค์กร จึงอยากเรียนถามอาจารย์ว่า

    1. คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดจะส่งผลกระทบต่อการแต่งผช.รมต.เป็นบอร์ดองค์การมหาชนหรือไม่ (แม้ขณะนี้จะไม่มีผช.รมต.ตามที่คุณวิษณุ เครืองาม อ้างก็ตาม)

     

    2. ถ้าคำพิพากษาศาลปกครองส่งผลกระทบจะเกิดอะไรตามมาบ้าง เช่น ริบเบี้ยผช.รมต. ที่ไปเป็นบอร์ดองค์การมหาชนคืน หรือครม. ในฐานะที่เป็นคนแต่งตั้งต้องรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร

     

    3. ก่อนหน้านี้คุณวิษณุเคยทำหนังสือหารือถึงคณะกรรมกฤษฎีกาเมื่อปี 2546 ว่าผช.รมต. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ ซึ่งก็มีคำตอบมาแล้ว แต่คุณวิษณุอ้างว่าเป็นความเห็นกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 เท่านั้น ไม่ใช่คณะใหญ่ จึงอยากถามว่ากรรมการกฤษฎีกาใหญ่มีสิทธิจะไม่วินิจฉัยซ้ำตามที่รัฐบาลร้องขอได้หรือไม่ และคำวินิจฉัยของกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 มีผลผูกพันให้รัฐบาลต้องปฏิบัติตามหรือไม่

     

    4. เพื่อความชัดเจนอยากเรียนถามอาจารย์เลยว่าผช.รมต. ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ หรือเป็นแค่ตำแหน่งอุโลกน์ขึ้นมาตอบแทนฝ่ายการเมืองที่อกหักจากเก้าอี้รมต.

    ///////////

    คำตอบ

    เรียน คนตามข่าว

        1. การจะกระทบกระเทือนหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายจัดตั้งองค์การมหาชนแต่ละแห่งว่าได้กำหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการขององค์การนั้นไว้ว่าอย่างไร  ถ้ากำหนดเป็นข้อห้ามว่าต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษานั้นก็ย่อมกระทบถึง และมีผลให้ ผช.รมต.ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการนั้น

        2. การจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนนั้นเป็นการจ่ายให้ตามงานที่เขาได้ทำไป เมื่อปรากฏในภายหลังว่าเขาขาดคุณสมบัติ ก็มีผลให้พ้นจากตำแหน่ง แต่ไม่กระทบถึงเงินที่จ่ายตอบแทนไปแล้ว และงานที่เขาได้ทำไป

        3. ตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น หน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งคณะรัฐมนตรี หากยังสงสัยในปัญหาที่ถามไป ก็มีสิทธิขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทบทวนได้ ซึ่งในกรณีที่มีการทบทวน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกามากกว่าหนึ่งคณะขึ้นไปหรือถ้าเป็นปัญหาสำคัญก็อาจขอให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้ร่วมกันพิจารณาให้

           คณะกรรมการกฤษฎีกามีฐานะเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลและกระทรวงทบวงกรม รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ  โดยฐานะเช่นนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงพิจารณาทุกเรื่องโดยอิสระและตรงไปตรงมา โดยไม่คำนึงว่าผู้ถามปัญหาเป็นใครและมีความประสงค์จะได้ผลอย่างไร  เพราะการให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมาเท่านั้นจึงจะช่วยให้ผู้ถามปัญหาสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ถ้าเรื่องใดมีความเห็นว่าทำได้ ผู้ถามก็จะได้ดำเนินการไปโดยปลอดโปร่งใจ หากเรื่องใดเห็นว่าทำไม่ได้ เขาก็จะได้ไปหาวิธีการหรือหาทางแก้ไขได้ถูกต้อง  ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาแม้จะไม่ใช่เป็นที่สุด แต่ก็เป็นความเห็นเบื้องต้นที่ใช้อ้างอิงได้  อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นที่ปรึกษากฎหมาย คำตอบนั้นจึงไม่มีผลบังคับให้ผู้ถามต้องปฏิบัติตาม ผู้ถามมีสิทธิจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามความเห็นนั้น หากเกิดความผิดพลาดหรือเสียหายขึ้น ผู้ถามก็ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว และที่สำคัญหากมีประเด็นเกี่ยวกับความสุจริต ก็ยากที่จะอ้างว่าตนได้ทำไปโดยสุจริตได้

          4. แหม! ผมเป็นกรรมการอยู่ในคณะที่ 1 เสียด้วย เลยไม่รู้จะให้ความเห็นอย่างไร

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 เมษายน 2549