ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016694 คดีที่เป็นอาญาแผ่นดินเทียมจิตร20 เมษายน 2549

    คำถาม
    คดีที่เป็นอาญาแผ่นดิน

    เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ

    เมื่อสองสามวันก่อนผมได้ยินรายงานข่าวทางโทรทัศน์ว่า แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยทั้งห้าคนจะไม่ได้พบเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหมายเรียก  โดบทนายของผู้ถูกกล่าวหาหรือแกนนำทั้งห้าคนนั้นชี้แจงว่าที่ไม่ไปพบเพราะเป็นการออกหมายเรียกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เนื่องจากเป็นคดีอาญาแผ่นดิน แต่ผู้แจ้งความดำเนินคดีคือคุณฉลาด วรฉัตร เป็นเอกชน

    ขอเรียนถามท่้านอาจารย์ดังนี้

    1. คดีอะไรที่เรียกว่าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน

    2.  คดีอาญาแผ่นดินเอกชนหรือประชาชนทั่วไปแจ้งความดำเนินคดีได้หรือไม่  หากไม่ได้  แล้วใครจะเป็นผู้แจ้งความให้ดำเนินคดีครับ

    3. การออกหมายเรียกของเจ้าหน้าที่ตำรวจในคดีอาญาแผ่นดินที่เอกชนเป็นผู้แจ้งความ  ถือว่าชอบด้วยกฎหมายกหรือไม่

    ขอบพระคุณมากครับ

    เทียมจิตร

     

    คำตอบ

    เรียน คุณเทียมจิตร

         ในส่วนที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลนั้น ความผิดทางอาญาแยกเป็น ๒ ประเภท คือ ความผิดต่อแผ่นดิน กับความผิดอาญาต่อส่วนตัว   ในการดำเนินคดีอาญาดังกล่าวมีขั้นตอนไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ถ้าเป็นความผิดต่อแผ่นดิน อัยการเท่านั้นจึงจะฟ้องได้ แต่ก่อนฟ้องต้องมีการสอบสวน และการสอบสวนจะเริ่มได้ก็ต้องมีการ "กล่าวโทษ"  ซึ่งใคร ๆ ก็กล่าวโทษได้ แต่ถ้าเป็นความผิดต่อส่วนตัว คนที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้นเท่านั้นจึงจะเป็นผู้เสียหาย และพนักงานสอบสวนจะดำเนินการไม่ได้ถ้าผู้เสียหายเขาไม่ "ร้องทุกข์ "


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 เมษายน 2549