ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016673 ปัญหาข้อกฏหมายในระบบรัฐสภาพิชยะ17 เมษายน 2549

    คำถาม
    ปัญหาข้อกฏหมายในระบบรัฐสภา

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ กระผมขอกราบเรียนถามปัญหาข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองในปัจจุบันที่ค่อนข้างสับสนในการปฏิบัติในสองกรณีดังนี้

    1. ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป (๒ เมษายน ๒๕๔๙) ต้องมีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกมาประชุมเป็นครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๙ วรรคหนึ่ง เมื่อ กกต. ไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้ง สส.ให้ได้ครบ ๕๐๐ คน และไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อให้ครบ ๑๐๐ คนได้ รัฐสภาจะดำเนินการเรียกประชุมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๓ (๘) ประกอบกับมาตรา ๑๖๑ ได้หรือไม่ หากเปิดไม่ได้ อาจารย์คิดว่าควรแก้ไขอย่างไร เพราะขณะนี้มีความคิดเห็นแตกต่างกันจนสับสนมาก

    2. เมื่อมีการเลือกตั้งสส. ในวันที่ ๒ เมษา และสว. ชุดใหม่ยังเลือกตั้งได้ไม่ครบ ๒๐๐ คน สว. ที่พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๔๙ สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้หรือไม่ ถ้าได้ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สว. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้ทุกประการหรือสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๘ เท่านั้น

    คำตอบ

    เรียน คุณพิชยะ

          1. เมื่อจะเรียกประชุมรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา แต่ละสภาก็ต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนพอที่จะทำงานได้  ถ้าเรียกไปแล้วทำงานไม่ได้ จะเรียกไปทำไม  มาตรา ๑๖๑ เป็นเรื่องที่จะเรียกประชุมเมื่อมีสภาครบถ้วนแล้ว

           2. มาตรา ๑๓๑ ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ชุดเดิมทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่  แต่เมื่อเป็นช่วงเดียวกันกับที่สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ จึงทำหน้าที่ได้แต่เฉพาะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๖๘  แต่ถ้าเปิดสภาผู้แทนได้เมื่อไร ก็ทำหน้าที่อย่างอื่นได้ด้วย

     

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 เมษายน 2549