ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016577 หลักการนี้ตีความอย่างไร?สร้อย สันขวาน4 เมษายน 2549

    คำถาม
    หลักการนี้ตีความอย่างไร?
    เมื่อเรารับรู้หลักการร่วมกันว่าเสียงส่วนใหญ่ของการเลือกตั้ง คือเสียงชี้ขาด แต่วันดีคืนดีก็ขัดแย้งกับคำว่าเผด็จการรัฐสภา จึงอยากเรียนถามว่าถ้าวันดีคืนดีมีพรรคใดพรรคหนึ่งได้เสียงเด็ดขาด โดยความนิยมแต่เป็นความนิยมของชาวบ้านเราควรยอมรับหลักการนี้หรือไม่อย่างไร
    คำตอบ

        เมื่อตอนที่ สสร.ออกแบบรัฐธรรมนูญปัจจุบันนั้น ได้สร้างไว้เพื่อให้เกิดรัฐบาลที่แข็ง และมีเสถียรภาพ  แต่ไม่ได้นึกว่าจะมีใครทำให้เกิดความแข็งได้ถึงขนาดนี้  แม้แต่ประชาชนและนักวิชาการเองก็ยังปรับตัวปรับใจไม่ทัน เมื่อเกิดรัฐบาลที่แข้งขึ้น พรรคเดียวสามารถตั้งรัฐบาลได้ ทุกอย่างจึงยังไม่พร้อม ไม่พร้อมทั้งคนที่เป็นรัฐบาล สส.ที่อยู่ในพรรคเดียว นักวิชาการ รวมทั้งการรับรู้ของประชาชน กลไกต่าง ๆ จึงถูกใช้ไปอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน และเกิดความรู้สึกว่า "ไม่ใช่" อย่างที่เคยคาดคิดไว้  ครั้นจะถามว่าแล้วผิดตรงไหน ก็ตอบไม่ได้ รู้แต่ว่าไม่ใช่ และไม่ดี

          อันที่จริงประเทศสิงคโปร์ก็มีพรรคการเมืองเดียวมาแต่เริ่มตั้งประเทศ  แต่รัฐบาลเขาค่อนข้างจะเข้มงวดในเรื่องประโยชน์แห่งชาติ และไม่ทำธุรกิจเป็นส่วนตัว  แม้คนสิงคโปร์จะมีข้อนินทารัฐบาลในเรื่องเป็นเผด็จการอยู่บ้าง แต่เขาก็วางใจว่าทั้งหมดยังทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นส่วนรวม ไม่มีข้อกังขาในเรื่องความสุจริตหรือประโยชน์ทับซ้อน  เขาจึงยอมรับอำนาจเบ็ดเสร็จนั้นได้  แต่สิ่งที่เกิดในประเทศไทยนั้น จะเป็นจริงอย่างไรไม่รู้  แต่ผู้คนเกิดกังขาว่า อำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดนั้นได้ถูกใช้ไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนอย่างไม่สุจริต และมีประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งรัฐบาลยังไม่สามารถทำความกังขานี้ให้หมดสิ้นไปได้ การประท้วงและการไม่ยอมรับจึงเกิดขึ้น  รัฐธรรมนูญนี้แม้จะมีการสร้างองค์กรต่าง ๆ เพื่ออุดช่องโหว่อย่างมากเพื่อรองรับความเข้มแข็งของฝ่ายบริหาร  แต่ก็อยู่บนสมมุติฐานที่ว่าทุกฝ่าย ทุกคน และทุกองค์กร จะเดินไปตามกติกาและตามเจตนารมณ์อย่างเคร่งครัด  ถ้าองค์กรหนึ่งองค์กรใดล้มเหลวไม่สามารถรักษากติกาและเจตนารมณ์ไว้ได้  ระบบทั้งระบบก็อาจพังลงอย่างที่เห็นได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 เมษายน 2549