ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016477 ลำดับกฏหมายผู้สงสัย25 มีนาคม 2549

    คำถาม
    ลำดับกฏหมาย

    1) ขอทราบลำดับชั้นของกฏหมายตั้งแต่สูงสุดจนถึงต่ำสุด

    2)เหตุใดคำส่งศาล(ปกครองสูงสุด)จึงยกเลิก พ.ร.ฏ.ได้ ถ้าเช่นนั้นทำไมไม่ให้ศาลปกครองมีคำสั่งยกเลิก พ.ร.ฏ.ยุบสภา จะได้ไม่ต้องมาเดินขบวนทำให้บ้านเมืองประเทศชาติเสียหายทั้งที่ใช้เวลากอบกู้มาตั้งนานต้องมาพังเพราะบุคคลเพียงไม่กี่คน

    3) พ.ร.ฏ.ประกาศในราชกิจจาฯ แล้วคำสั่งศาลฯ ที่ให้ยกกเลิก พ.ร.ฏ.ฉบับดังกล่าว ประกาศในราชกกิจจาฯ ด้วยหรือไม่  ถ้าไม่ประกาศ พ.ร.ฏ.ฉบับดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในราชกิจจาฯ ต่อไป เช่นนี้จะรู้ได้อย่างไรว่า พ.ร.ฏ.ฉบับนั้นถูกยกเลิกไปแล้ว

    4) ได้ยินว่าคำสั่งใด ๆ ไม่สามารถล้มล้างหรือยกเลิกพระบรมราชโองการฯ (แต่งตั้งคุณหญิงงเมนฑกา) ได้ แต่ทำไมคำสั่งศาลจึงยกเลิก พ.ร.ฏ.ได้

    คำตอบ

       1. รัฐธรรมนูญ, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ, พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา

       2. การที่ศาลจะยกเลิกอะไรหรือพิพากษาว่าอย่างไรนั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่ามีใครเขาไปฟ้องหรือไม่ และเมื่อฟ้องแล้วอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิจารณาและพิพากษาหรือไม่

        3. เป็นหน้าที่ของคนที่จะนำไปใช้อ้างอิงหรือต่อสู้ที่จะต้องตรวจสอบกันเอง

        4. อะไรที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายกำหนดให้ทำได้ก็ย่อมทำได้   ส่วนในทางวิชาการจะเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่อาจถกเถียงกันได้ แต่จะถกเถียงกันอย่างไรก็จะไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาที่มีไปแล้ว

     

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 มีนาคม 2549