ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016467 ความเป็นรัฐวิสาหกิจอดีตพนักงาน24 มีนาคม 2549

    คำถาม
    ความเป็นรัฐวิสาหกิจ

    เรียนท่านอาจารย์

    ผมรู้สึกสับสนกับสถานะของความเป็นรัฐวิสาหกิจเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่มี พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และภายหลังมีการแปลงรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนเป็นต้นมา

    ตามความเข้าใจของผม นิยามของรัฐวิสาหกิจนั้น อยู่ใน พรบ.งบประมาณ พ.ศ.  ๒๕๐๔ ซึ่งกล่าวไว้ว่ากิจการที่รัฐถือครองโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่ากึ่งหนึ่งนั้นเป็นรัฐวิสาหกิจ

    ในหลายปีที่ผ่านมา มีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งซึ่งแปลงสินทรัพย์เป็นทุนตาม พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ (หรือในบางแห่งซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประมวลกฏหมายแห่งและพาณิชย์ซึ่งทำให้มีทุนจะทะเบียนอยู่แต่เดิมแล้ว) ได้เปลี่ยนสภาพเป็นบริษัทมหาชน โดยอ้างว่าได้กลายเป็นเอกชนแล้วทั้งที่กระทรวงการคลังยังถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่ง (เกินกว่าร้อยละ ๕๐) การกล่าวอ้างเช่นนี้ ถูกต้องตามหลักกฏหมายหรือไม่

    คำตอบ

    ตราบใดที่รัฐยังถือหุ้นอยู่เกินร้อยละ ๕๐ ก็ยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่นั่นเอง  แต่เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชน โดยมีเอกชนร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย ดั้งเช่น บริษัทการบินไทยเป็นต้น

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 มีนาคม 2549