ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016407 รัฐธรรมนูญกับการละเมิดชาวนา19 มีนาคม 2549

    คำถาม
    รัฐธรรมนูญกับการละเมิด

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
    (ฉบับปัจจุบัน)

     

    มาตรา ๖๓

    บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้าง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

     

     ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็น การกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่น คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบ กระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการ ตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ 

    ประเด็นคือ 1. การชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลที่ประกาศยุบสภาแล้วและมี พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งแล้วเป็นการกระทำที่ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยหรือไม่?

    2.การมีความพยายามที่จะใช้มาตรา ๗ เพื่อให้ได้มาซึ่งนายกหรือรัฐบาลพระราชทานเป็นการกระทำที่ให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่?

    3.การบอยคอตการเลือกตั้งโดยมีเจตนาเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง หรือเพื่อให้การเลือกตั้งสำเร็จแล้วจะไม่ชอบธรรมในการบริหารประเทศ หรือก่อให้เกิดความไม่สงบสุขของประเทศเป็นความผิดตามมาตรานี้หรือไม่?

    มาตรา ๖๕ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

    ประเด็นคือ กลุ่มบุคลที่ชุมนุมต่อต้านอยู่ เป็นไปตามวิถีบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่?ในกรณีที่แสดงเจตนารมณ์ชัดแจ้งว่าเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง เพื่อให้การเลือกตั้งมีปัญหา เพื่อกดดันนายกที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีรัฐธรรมนูญนี้ โดยหลีกเลี่ยงการใช้วิถีทางตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ

    มาตรา๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและ เสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้   

    ประเด็น   คือ การที่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งออกมาชุมนุมแสดงออกเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง สส. ทั้งๆที่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศการเลือกตั้งแล้ว ถือเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ ปชช.ที่จะไปเลือกตั้งไหม? และเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่? หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือไม่?

    มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน  ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน    การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็น ทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้   มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้ สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
    ตามวรรคสาม 
    ]

    ประเด็นคือ การบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคการเมืองโดยมีเจตนาว่าถ้าปล่อยให้มีการเลือกตั้งพรรค ทรท.ก็จะได้เป็นรัฐบาลอีก ถือเป็นการกระทำที่ไม่เคารพสิทธิเสมอภาคในการลงคะแนนเลือกตั้งของ ปชช.หรือไม่? เป็นการกระทำที่ละเมิดมาตรานี้หรือไม่

    คำตอบ

         ประเด็นที่ ๑ เมื่อรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ก็เป็นความคิดเห็นอย่างหนึ่ง ซึ่งในการแสดงความคิดเห็นนั้นผู้พูดย่อมต้องรับผิดชอบในผลและคำพูดที่จะไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งถ้ามีการละเมิด ผู้ถูกละเมิดย่อมในกระบวนการทางศาลได้  ที่ว่ามานั่นก็เป็นเรื่องของหลักกฎหมาย แต่เอาเข้าจริง ในยามที่อารมณ์เร่าร้อนกันอย่างนี้ กลไกปกติต่าง ๆ ย่อมยากที่จะเดินหน้าได้

          2. ก็มาตรา ๗ นั้นอยู่ในรัฐธรรมนูญ การเรียกร้องให้ใช้มาตรา ๗ จึงเป็นเรื่องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่จะทำอะไรตามมาตรา ๗ ได้มากน้อยเพียงใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้เรียกร้องจะเรียกร้องให้ใช้อย่างไรก็ได้ แต่ผู้ที่จะลงมือทำซึ่งจะต้องรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำ ย่อมต้องเป็นผู้คิดและตัดสินใจด้วยความรับผิดชอบของตนเอง

          3. การสมัครรับเลือกตั้ง ก็เป็นสิทธิอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นสิทธิจึงไปบังคับกันในทางกฎหมายไม่ได้ ได้แต่บังคับกันในทางการเมือง

          ประเด็นที่ 2.และประเด็นที่ 3.  ถ้าดำเนินการใดอันเป็นการขัดขวางการเลือกตั้งมิให้เกิดขึ้น ก็เป็นความผิดได้ แต่ถ้าเพียงแต่ชักจูงใจคนให้ไปเลือกตั้งแต่ลงคะแนนเลือกหรือไม่เลือกใคร ก็เป็นสิทธิที่จะทำได้  ส่วนปัญหาที่จะเกิดจากการเลือกตั้งนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลผู้ดำเนินการให้มีการเลือกตั้งต้องเป็นฝ่ายตระหนักเองว่า เมื่อจัดให้มีการเลือกตั้งแล้ว กลไกที่กำหนดไว้ในกฎหมายจะเดินไปได้หรือไม่ ถ้าเดินไม่ได้แล้วจะแก้ไขได้โดยวิธีใด  ถ้ามีทางแก้ไขก็ต้องรีบแก้ไขเสียเพื่อไม่ให้เกิดทางตัน แต่ถ้าไม่มีทางแก้ไขแล้วจะเดินไปเพื่อ"ไปตายเอาดาบหน้า" ก็ย่อมไม่ใช่วิสัยของคนเป็นรัฐบาล  ตัวอย่างเช่นสมมุติว่าจะสร้างสนามบินแห่งหนึ่งซึ่งต้องใช้ที่ดินเป็นจำนวนมาก มีที่ดินอยู่เพียง 100-200 ไร่ ยังไม่สามารถเวนคืนที่ดินได้เพราะราษฎรไม่ยอม รัฐบาลที่ดีก็ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินให้เสร็จเสียก่อนจึงจะดำเนินการโครงการนั้นต่อไปได้  ถ้ารู้ ๆ อยู่ว่าที่ดินยังไม่มี แต่ไปเปิดประกวดราคาเพื่อสร้างสนามบินขึ้นเสียก่อน โดยหวังว่าเมื่อถึงเวลาคงจะมีทางออกเอง อย่างนี้ก็ไม่ใช่วิสัยที่รัฐบาลจะพึงกระทำ

            ประเด็นที่ ๔  ดูคำตอบประเด็นที่ ๑

            ถ้าชาวนาทั่วไปขยันอ่านรัฐธรรมนูญอย่างนี้ ปัญหาทั้งหลายของบ้านเมืองอาจไม่เป็นอย่างที่เป็นอยู่


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 มีนาคม 2549