ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016404 ผลงานวิจัย กับกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษชัยสิทธิ์18 มีนาคม 2549

    คำถาม
    ผลงานวิจัย กับกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ

    เรียน อาจารย์มีชัยที่เคารพ

            ผมอ่าน "หยดน้ำ" ของอาจารย์ยังไม่ทับจบก็มีโอกาสเปิด web site นี้ และเห็นข้อความที่อาจารย์เขียนเป็นถ้อยแถลงการณ์ เรื่องที่มาของงานวิจัยข้อมูลเรื่องกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็ให้สงสัยตามปัญญามีดังนี้ครับ

    1. งานวิจัยที่สำนักงานกฏหมายนี้ทำการวิจัยตามแต่กรณี หมายถึงกับกระทรวงอุตสาหกรรม. ได้จบสิ้นไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน

    2. งานวิจัยนั้นได้ถูกนำไปดัดแปลงเป็นร่างกฏหมาย พร้อมจะผ่านร่าง และประกาศใช้อย่างง่ายดาย (ผมคาดหวังโดยส่วนตัวว่าง่าย หากไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ถึงแม้ต้องผ่านกฤฏีกาก็ตาม ตัวอย่างโปแตส สุวรรณภูมิ)

    3. สิ่งที่เกิดขึ้นปัจจุบัน คือการรับรู้และฟังแล้วให้เข้าใจเอาเองว่า กฏหมายนี้เป็นผลงานของสำนักกฏหมายนี้เป็นผู้จัดทำขึ้นเพื่อป้อนให้รัฐ ตัวอย่างเช่นที่ สว. พูดว่าเป็นสำนักงานแห่งนี้จัดทำให้ ปัจจุบันพร้อมจะผ่านร่าง (และยิ่งตอนท้ายสุดจำนวนองค์ประชุมคณะรัฐมนตรีก็ยิ่งออกกฏหมายนี้ง่ายขึ้นไปอีก)

            อาจารย์ครับ ผมมิได้สนใจว่า สว. จะพูด หรือ อาจารย์จะเขียนถ้อยแถลงโต้ตอบอย่างไร เพราะมิได้อยู่ในประเด็นคิด แต่ผมกลับคิดว่า

    1. ผลงานวิจัยที่สำนักกฏหมายนี้รับทำ กำลังเป็นแนวทางสำหรับกฏหมายที่มีโอกาสจะออกบังคับใช้ที่ฟัง สว. พูด แล้วรับไม่ได้จริง ๆ ครับ (คิดไม่ถึงเรื่องที่ดร. นิติภูมิ พูดไว้จะกำลังมาถึงในเร็ววัน)

    2. ผมเชื่อว่าถ้า ทรท. เป็นรัฐบาล กฏหมายนี้จะออกบังคับใช้ (จากเหตุผลหลายอย่าง เกี่ยวกับภาษีและธุรกิจมหาศาลในเขตจังหวัดสุวรรณภูมิ และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ เรื่องของประเทศสิงคโปค์ รวมถึงที่อาจารย์หมอประเวศพูดในรายการTV กล่าวว่ามีข่าวเล่าว่ามีการรอขายที่ดินที่มีกำไรประมาณ 12 ล้านบาท จำนวน 6,000 ไร่ ฯลฯ..)

    3. เชื่อว่าอาจารย์ไม่เจตนาหรือไม่ทราบมาก่อน เมื่อช่วงที่สำนักกฏหมายนี้รับทำงานวิจัยนี้ แต่ผลงานนี้ก็กำลังเป็นส่วนสำคัญของกฏหมายนี้หรือไม่ และถ้ามีการกล่าวอ้างโดยใครสักคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายนี้อาจบอกว่า สำนักงานนี้เป็นผู้จัดทำให้ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนก็จะเกิดขึ้นกับอาจารย์อย่างลีกเลี่ยงไม่ได้

            และโดยความเคารพในตัวอาจารย์อย่างสูง ผมไม่อยากให้ใครนำผลประโยชน์นี้ไปกล่าวอ้างเพื่อความชอบธรรมของเขา หรือมองว่า สำนักงานกฏหมายนี้ได้มีส่วนสร้างผลงานนี้ หรืออาจเรียกว่าสำนักกฏหมายหรือตัวอาจารย์ ตกกระไดพลอยโจน .. และอยากจะถามอาจารย์ว่า อาจารย์เห็นด้วยกับกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ 99 ปีนี้หรือไม่ 

    1. ถ้าเห็นด้วยเพราะอะไร

    2. ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร

    3. ในฐานะประชาชนควรออกไปต่อต้านกฏหมายนี้หรือไม่ จะรอให้ออกมาก่อน ค่อยต่อต้าน หรือต่อต้านเสียแต่เนิ่น  ๆ 

     

    ด้วยความเคารพ

    ชัยสิทธิ์

    คำตอบ

    เรียน คุณชัยสิทธิ์

        1.  ร่างกฎหมายที่สำคัญ ๆ นั้น ก่อนจะออกมาเป็นร่างสุดท้ายเพื่อเสนอต่อสภาได้นั้นจะต้องผ่านกระบวนการหลายกระบวนการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นของคนทั่วไป เมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็นอย่างไรแล้ว ร่างนั้นก็จะค่อย ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไป จนเป็นที่ยอมรับกันได้ทุกฝ่าย เรื่องจึงจะส่งกลับไปยังสภาทั้งสอง ซึ่งถึงตอนนั้นก็เป็นหน้าที่ของสภาทั้งสองที่จะต้องดูแลในเชิงนโยบายอีกต่อหนึ่ง  ร่างบางร่างจากงานวิจัยนั้น บางทีเมื่อออกมาเป็นร่างสุดท้ายจริง ๆ อาจจะเหลือร่องรอยอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น กฎหมายสุขภาพแห่งชาติ เมื่อร่างครั้งแรกก็มีเป็นร้อย ๆ มาตรา แต่กว่าจะถึงขั้นตอนที่นำเสนอต่อสภา ก็เหลือเพียงไม่กี่สิบมาตรา เป็นต้น  ข้อสำคัญบางทีคนที่อ่านร่างก็อาจจะเกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญจนดูเหมือนน่ากลัว อย่างบทบัญญัติที่มักจะอ้างว่าน่ากลัวนั้น อันที่จริงก็ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ หากแต่เป็นเรื่องมีอยู่แล้วในกฎหมายนิคมอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังใช้บังคับอยู่

         2. กฎหมายเขตเศรษฐกิจ เป็นคนละฉบับกับกฎหมายจัดตั้งเมืองพิเศษสุวรรณภูมิ เพราะกฎหมายจัดตั้งเมืองพิเศษสุวรรณภูมินั้นดูเหมือนคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ทำการวิจัย (ถ้าไม่ใช่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย)

         3. คนที่เกิดมาเป็นมนุษย์และทำงานนั้น ไม่วันใดก็วันหนึ่งก็ย่อมถูกเข้าใจผิดบ้างไม่มากก็น้อย ในยามที่อารมณ์กำลังเร่าร้อนกันอย่างนี้ จะอธิบายกันอย่างไรก็คงยากที่จะเข้าใจ

         4.  เมื่อในตอนนี้ยังไม่รู้ว่าร่างกฎหมายนั้นสุดท้ายจะออกมาหน้าตาอย่างไร จะไปต่อต้านให้เหนื่อยยากทำไม จะต่อต้านใครก็ต่อต้านให้เกิดพลังไปพลาง ๆ ก่อนไม่ดีหรือ  ถ้าเมื่อไรเขาจะนำเสนอต่อสภา เห็นหน้าตาแล้วยังไม่ถูกใจก็ค่อยไปต่อต้านก็คงไม่สายเกินไปหรอก

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 มีนาคม 2549