ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016399 แก้รธน.เที่ยวนี้..ทำได้มั้ยครับที่จะแยกอำนาจทั้ง 3 ฝ่าย(บริหาร-นิติบัญญัติ-ตุลากร)ให้อิสระต่อกันมากที่สุดนวทัศน์18 มีนาคม 2549

    คำถาม
    แก้รธน.เที่ยวนี้..ทำได้มั้ยครับที่จะแยกอำนาจทั้ง 3 ฝ่าย(บริหาร-นิติบัญญัติ-ตุลากร)ให้อิสระต่อกันมากที่สุด

    กราบเรียนท่าอาจารย์ มีชัย ที่เคารพครับ

    คือผมเองเป็นอาจารย์ที่มีโอกาสได้มาศึกษาต่อณต่างประเทศด้วยทุนฯที่ได้รับจากพลเมืองดีผู้เสียภาษีชาวไทย ผมติดตามสถานการณ์ทางการเมืองที่เมืองไทยตอนนี้อยู่ตลอด พยามยามวิเคราะห์ที่มาที่ไปและต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งมวลที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่เรามีรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงมากที่สุด..บังเอิญ ผมศึกษาต่อด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ เลยลองนำความรู้ที่พอมีมาวิเคราะห์ปัญหาและหาทางออกสำหรับระยะยาวดู และเกดิคำถรมขึ้นมาในใจว่า ไอ้สิ่งที่ผมคิด ผมว่านักกฎหมายนักรัฐศาสตร์ก๋น่าจะรู้อยู่แล้ว แต่แปลกใจเหลือเกินว่าทำไมถึงเดิขึ้นไม่ได้(ต้องออกตัวก่อนครับว่า ผมมีความรู้ทางกฎหมายและทฤษฎีการเมืองการปกครองน้อยมาก) เลยรบกวรขอคำชี้แนะจากอาจารย์ด้วยครับ..ปัญหาของผมก็คือ

    ทำไมเราถึงไม่สามารถแยกอำนาจทั้ง 3 ฝ่ายให้อิสระต่อกันได้ครับ (นิติบัญญัติ-บริหาร-ตุลากร)  ? อย่างเช่นแนวทางที่ผมขออณุญาติตั้งเป็นตัวอย่างแนวทางดังกล่าว มันพอเป็นไปได้มั้ยครับ?

    1 ฝ่ายตุลาการ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร แยกเป็นองค์กรอิสระ(ไม่ต้องอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรม) อย่าเช่นตั้งเป็นสภาตุลาการ แล้วก็มีแบบ Member of Justice Council ที่มาจากผู้พิภากษา อัยการ หรือบุคคลอื่นๆทีมีความรู้ทางกระบวนการยุติธรรม และมีโครงสร้างที่สามารถถ่วงดุลอำนาจภายใน มีระบบการจัดสรรและใช้งบประมาณอิสระจากรัฐบาล มีเพียงกลไกตรวจสอบการใช้งบเช่นเดียวกับหน่วยอื่นๆ

    2 ฝ่ายบริหาร ไม่ต้องผูกที่มาไว้กับฝ่ายนิติบัญญัติ ให้มีการเลือกกตั้ง นายกและคณะรัฐมนตรีโดยตรง โดยให้สังกัดพรรค

    3 ฝ่ายนิติบัญญิต ให้ส.ส. เป็นตัวแทนประชาชนเพื่อทำงานในกระบวนการนิติบัญญัติ และตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารเท่านั้นและให้มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่ให้สังกัดพรรค เพื่อลดการเชื่อมโยงฐานอำนาจกับฝ่ายบริหารและให้เกิดความหลากหลายอย่างแท้จริง และไม่ให้ สส. ได้รับงบประมาณในการพัฒนาท้องที่ เพราะกลายเป็นบทบาททับซ้อนกับองค์กรส่วนท้องถิ่น

                ที่ลองเสนอมาก็เป็นไปตามความรู้ที่จำกัดที่มีนะครับอาจารย์ และพยายามไม่คิดตามกรอบประเพณีเดิมๆ .. ถ้าที่ผมลองเสนอมาอาจารย์คิดว่าน่าจะทำไม่ได้  อาจารยย์พอมีแนวทางอื่นมั้ยครับ ที่จะแยกอำนาจทั้งสามส่วนออกจากกันให้มากที่สุด และสามารถตรวจสอบ ถ่วงดุลกันได้? เพราะผมเชื่อว่า ปัญหาทั้งหมดตอนนี้ มันน่าจะเกิดมาจากทั้ง บทบาทและผลประโยชน์ ที่มันทับซ้อนกันโดยตรงอยู่ในขณะนี้... ขอบคุณท่านอาจารย์มากครับ

     

    คำตอบ

    เรียน คุณนวทัศน์

          1. ในปัจจุบัน ฝ่ายตุลาการได้แยกตัวออกมาเป็นอิสระทำนองที่คุณว่ามาแล้ว คือไม่ได้อยู่ในกระทรวงยุติธรรม หากแต่เป็นองค์กรหนึ่งต่างหาก มีคณะกรรมการบริหารกิจการของตนเอง มีคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการบริหารงานบุคคลของตนเอง (เรียกว่าคณะกรรมการข้าราชการตุลาการ หรือ ก.ต.) งบประมาณก็ได้รับมาเป็นก้อน จะใช้จ่ายอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารกิจการ รัฐบาลไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยได้ การตรวจสอบก็ถูกตรวจสอบตามระบบ คือ มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบด้านการเงินและการใช้จ่ายเงิน มี ก.ต.คอยควบคุมความประพฤติ การเลื่อนชั้น เลื่อนเงินเดือน และลงโทษ เป็นอิสระจากองค์กรอื่นทั้งปวง  สำหรับศาลปกครองซึ่งเป็นอีกศาลหนึ่ง ก็เป็นอิสระทำนองเดียวกับศาลยุติธรรมเหมือนกัน

          2.  เนื่องจากประเทศไทยมีการปกครองในระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งเป็นระบบรัฐสภา ไม่ใช่ระบบประธานาธิบดี  การให้เลือกตั้งผู้บริหารโดยตรงอาจกระทบความเป็นประมุขของพระมหากษัตริย์ได้  และเมื่อเป็นระบบรัฐสภา จึงต้องมีความยึดโยงอยู่กับฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมาจากการเลือกตั้ง  ปัญหาที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ก็เนื่องจากเห็นกันว่าระบบการคานอำนาจและการตรวจสอบนั้นเสียไป เพราะฝ่ายนิติบัญญัติเสียงข้างมากเป็นของรัฐบาล การตรวจสอบจึงเป็นไปได้ยาก และก่อให้เกิดปัญหาความไม่วางใจในหมู่ประชาชนยิ่งขึ้น  ถ้าแยกจากกันโดยเด็ดขาดตามแนวคิดของคุณ ฝ่ายบริหารก็จะยิ่งไม่มีการตรวจสอบ ก็จะยิ่งเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 มีนาคม 2549