ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016379 ความหมายของการกาช่องไม่ลงคะแนนคนรู้น้อย16 มีนาคม 2549

    คำถาม
    ความหมายของการกาช่องไม่ลงคะแนน

    เรียน อาจารย์มีชัย

     

    ในระบอบประชาธิปไตย  การกาช่องไม่ลงคะแนน  มีความหมายว่าอย่างไรครับ ผมเข้าใจว่าเป็นการแสดงว่าเราไม่ต้องการเลือกใครเป็นผู้แทนฯ  แล้วหมายความต่อไปว่าไม่ต้องการมีสิทธิมีส่วนในการปกครองประเทศ  ทั้งในด้านนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ใช่หรือไม่ครับ  หรือว่า ผู้แทนราษฎรคือผู้แทนปวงชนชาวไทย แม้ผมจะไม่ได้เลือก ก็ถือเป็นผู้แทนของผมด้วย  หรือว่าไม่ถูกต้องทั้งสองประการ

    ขอบคุณครับ

     

    คำตอบ

    เรียน คนรู้น้อย

         การไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ เมื่อเป็นหน้าที่จึงต้องไปใช้สิทธิ ถ้าไม่ไป ก็ต้องรับผลร้าย เหมือนอย่างที่ อดีต สส.ที่ไปสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดสงครามหรือสาครแถว ๆ นั้นกำลังได้รับอยู่ คือถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง

         ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง มีสิทธิเลือกได้ ๒ ทาง คือ  ๑ เลือกใครก็ได้ตามที่เราเห็นว่าดี สมควรไปเป็นตัวแทนของเราในการบริหารประเทศ  หรือ ๒. ไม่เลือกใครเลย เพราะเห็นว่าคนที่สมัครมาให้เลือกนั้น ไม่ได้ความสักคนหนึ่ง ซึ่งทำได้โดยการประทับตราในช่อง "ไม่ใช้สิทธิ์"  ซึ่งก็เป็นการใช้สิทธิอย่างหนึ่ง คือแสดงให้เห็นว่า เราไม่ประสงค์จะให้ใครมาอ้างเอาเราไปเป็นข้ออ้างว่าเราได้มอบหมายให้ไปเป็นตัวแทนของเรา แม้ว่าในที่สุดคนนั้นจะได้รับเลือกตั้ง และต้องทำหน้าที่แทนเราด้วย แต่เมื่อเขาไปทำอะไรไม่ดีไม่งาม เราก็ยังสามารถตอบตัวเราเองได้ว่า เราไม่ได้มีส่วนในการสนับสนุนความไม่ดีไม่งามเหล่านั้น

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 มีนาคม 2549