ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016364 พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๙กลุ่มงานระเบียบวาระฯ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา14 มีนาคม 2549

    คำถาม
    พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๙

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ

                สืบเนื่องจากคำถาม - คำตอบที่ 016284 วันที่ 3 มีนาคม 2549 ซึ่ง    จนท.สำนักกำกับและตรวจสอบฯ วุฒิสภา ได้เรียนถามท่านอาจารย์ ถึงเรื่องการเรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามมาตรา ๑๖๘ ของ รธน. นั้น กระผมยังมีประเด็นใคร่ขอเรียนถามท่านอาจารย์เพิ่มเติม บางประการดังนี้

    ข้อเท็จจริง  ๑. ด้วยได้มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ (ประกาศในราชกิจจาฯ เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๗ ก วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๔๙) โปรดเกล้าฯ ให้เรียกประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ ๔ มีนาคม ๔๙

                    ๒.  ต่อมา ได้มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๔๙ และกำหนดให้มีการเลือกตั้ง สส.ใหม่ เป็นการทั่วไป ในวันที่ ๒ เมย. ๔๙

    ประเด็น  คือ  (๑) นับตั้งแต่วันที่ ๔ มีค. ๔๙ มาจนถึงขณะนี้ จะถือว่า ยังอยู่ในสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ นั้น หรือไม่

                      (๒)  พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร นอกจากจะมีผลตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๔ ประการ คือ (ก) สมาชิกภาพของ สส. สิ้นสุดลง  (ข)คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง (ค) ต้องจัดการเลือกตั้ง สส. เป็นการทั่วไป ภายใน ๖๐ วัน และ (ง) จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ ยกเว้นเหตุตาม ม. 168 แล้ว ยังจะมีผลถึงสมัยประชุมของรัฐสภา หรือไม่ อย่างไร

    คำชี้แจงเพิ่มเติม เนื่องจากมีความเห็นว่า บทบัญญัติที่ว่าด้วยความคุ้มกัน ตาม ม. 165 - 167 นั้นจะมีขึ้นก็เฉพาะแต่ "ในสมัยประชุม" ฉะนั้น หากการยุบสภาผู้แทนฯ มีผลให้สมัยประชุมของรัฐสภาสิ้นสุดลง หรือไม่มีสมัยประชุมฯ อีกต่อไป "ความคุ้มกัน"  ก็ไม่อาจมีอยู่ต่อไปได้เช่นกัน ความเห็นดังกล่าวนี้ ท่านอาจารย์ มีความเห็นอย่างไร หรือไม่

                                        กราบขอบพระคุณสำหรับความกรุณาไว้ ณ โอกาสนี้

    คำตอบ

    เรียน กลุ่มงานระเบียบวาระ

         เมื่อสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบแล้ว รัฐสภาก็ย่อมหมดไป พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาก็ย่อมสิ้นผลไปในตัว และย่อมมีผลไปถึงความคุ้มกันตามมาตรา ๑๖๕ - ๑๖๗ ด้วย

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 มีนาคม 2549