ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016356 ถ้าจะให้นายกฯ ลาออกประยุทธ13 มีนาคม 2549

    คำถาม
    ถ้าจะให้นายกฯ ลาออก

    สถานการณ์ตอนนี้ ฝ่ายต่อต้านยืนยันว่านายกฯ จะต้องลาออกและเว้นวรรคเท่านั้น ขณะที่นายกฯ ก็ยืนยันว่าไม่ลาออก ทำให้เหตุการณ์ขยายวงกว้างขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง ทั้งนี้ มีบางกลุ่มเสนอให้ตั้งโต๊ะเจรจา/ดีเบท ซึ่งผมเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เพราะต่างฝ่ายต่างยืนยันจุดยืนของตนเองชัดเจนและไม่ยอมแพ้ ผมจึงขอแสดงความเห็นพร้อมปรึกษาอาจารย์ว่า กรณีมีกลุ่มบุคคล เช่น กลุ่มอธิการบดี กลุ่มตัวแทนนักศึกษา กลุ่มนักวิชาการ ฯลฯ นำเสนอคณะองคมนตรีเพื่อทูลเกล้าฯ ในหลวง เพื่อบอกให้นายกฯ ลาออก จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ และผมไม่ทราบว่าเป็นการบังควรหรือลบหลู่เบื้องสูงหรือเปล่า ที่คิดเห็นเช่นนี้เนื่องจากนายกฯ เคยประกาศว่าถ้าในหลวงให้ออก ก็จะกราบเท้าลาออกทันที 

    คำตอบ

       ในยามปกตินั้นเรื่องการเมืองเป็นเรื่องของความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ ยากที่จะบอกได้ว่าใครผิดใครถูก และภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมากว่าอย่างไรก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น แม้จะไม่แน่ว่าเสียงข้างมากนั้นจะถูกเสมอไป แต่คนที่มีเสียงข้างมากก็ต้องสำเหนียกถึงความเห็นของเสียงข้างน้อยไว้เสมอเหมือนกัน เพราะถ้าทำจนเกิดความ "เดือด" ขึ้นในหมู่คนเสียงข้างน้อย ความไม่เรียบร้อยในสังคมก็ย่อมเกิดขึ้นได้  เมื่อเกิดความแตกต่างในความคิดเห็นในทางการเมืองขึ้น จึงไม่สมควรนำเรื่องไปรบกวนเบื้องยุคลบาท  ต้องถือเป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการไปตามที่เหมาะที่ควรด้วยความรับผิดชอบของตนเอง

          ในยามที่ไม่ปกติ เมื่อฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการให้เกิดความเรียบร้อย จนเกิดความ "เดือด" ขึ้นในสังคม และความคิดเห็นยังเป็นหลายฝักหลายฝ่ายอยู่เช่นนี้ การนำปัญหาไปให้ทรงวินิจฉัยย่อมเป็นการรบกวนเบื้องพระยุคลบาทจนเกินไป  ในเมื่อทุกฝ่ายทราบกันดีแก่ใจว่า ความสุขสงบและความสมานฉันท์ของประชาชนและสังคมเป็นสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระประสงค์ยู่เสมอ ทำไมจึงไม่ทำไปตามที่พระองค์ทรงมีพระราโชวาทไว้ อย่างน้อยที่เคยทรงเตือนไว้ว่า เมื่อทะเลาะกันไปแล้วในที่สุดก็จะไม่รู้ว่าทะเลาะกันเรื่องอะไร ชัยชนะบนสิ่งปรักหักพังนั้นจะภูมิใจได้หรือ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 มีนาคม 2549