ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015565 ผลอันเนื่องมาจากพระราชดำรัสคนตามข่าว6 ธันวาคม 2548

    คำถาม
    ผลอันเนื่องมาจากพระราชดำรัส

    เรียน อ. มีชัย ฤชุพันธุ์

    ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ทรงให้วิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้ ในความเห็นของอ. มีชัยคิดว่าเป็นแค่การเตือนสติให้ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองหยุดคิดว่าขนาด "คิง" ยังพร้อมรับฟังเสียงติติง คนที่อยู่ในที่โล่งแจ้งก็ควรจะรับฟังข้อติติงต่างๆ บ้าง หรือคิดว่าทรงมีเจตนาจะให้มีการวิจารณ์จริงๆ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 หรือไม่

     

    ขอบคุณค่ะ

    คนตามข่าว

    คำตอบ
    เรียน คนตามข่าว ความคิดของคุณในตอนแรกนั้น สมกับเป็นพสกนิกรที่มีความจงรักภักดี กล่าวคือเมื่อฟังพระราชดำรัสแล้ว ก็นำมาคิดเพื่อปรับปรุงตัวเองให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อส่วนรวมและส่วนตน ส่วนความคิดที่ว่าทรงมีเจตนาจะให้มีการวิจารณ์จริง ๆ นั้น น่าจะเป็นการแปลความไปไกลว่าพระราชดำรัส เพราะพระราชดำรัสดังกล่าวทรงเน้นที่ประโยคที่ชอบพูดกันว่า "King can do no wrong" เพื่อให้เห็นว่าเมื่อเป็นมนุษย์แล้วก็ย่อมอาจทำผิดได้เสมอ เพียงแต่ว่าถ้ารู้จักใช้สติการทำความผิดก็จะน้อยลง และการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอย่างมีสตินั้นย่อมยังประโยชน์แก่ผู้รับฟัง อันการกระทำในทางการเมืองหรือการบริหารของพระมหากษัตริย์นั้นไม่ใช่เรื่องที่ใครจะวิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้ เพราะเป็นการกระทำตามข้อเสนอของบุคคลซึ่งมีหน้าที่ในการรับผิดชอบ คือผู้ที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ การวิจารณ์จึงต้องวิจารณ์คนที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ อันเป็นการสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๘ และมาตรา ๒๓๑
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 ธันวาคม 2548