ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014524 การเมืองการปกครองของไทยกันติสา กันต์17 กรกฎาคม 2548

    คำถาม
    การเมืองการปกครองของไทย

    สวัสดีค่ะคุณมีชัย  ดิฉันมีเรื่องอยากรบกวนให้คุณช่วยตอบคำถามหน่อยนะค่ะ 

    1.ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว จะต้องนำเข้าสู่วุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อ หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับพระราชบัญญัตินั้นบางมาตรา จะต้องดำเนินการอย่างไร

    2.ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร มีการตั้งกรรมาธิการเต็มสภา หมายความว่าอย่างไร

    3.ร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ลงพระปรมาภิไธย จะต้องดำเนินการอย่างไร

    4.ราชกิจจานุเบกษา คืออะไร

    5.กรรมาธิการสามัญสภาผู้แทนราษฎร คืออะไร

    6.กรรมาธิการสามัญสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยกรรมาธิการใดบ้าง แต่ละกรรมาธิการมีจำนวนกี่คน

    ดิฉันอาจมีข้อสงสัยที่อยากรบกวนคุณมากไปหน่อย แต่ก็จำเป็นจริง ๆ อยากให้คุยช่วยตอบเพื่อประเทืองความรู้ให้ดิฉันด้วยนะค่ะ  ดิฉันขอขอบพระคุณคุณมีชัยไว้ล่วงหน้าด้วยนะค่ะ

    กันต์ ม.ปลาย

    คำตอบ

    เรียน คุณกันติสา

          1. ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับมาตราใด ก็แก้ไขเพิ่มเติม หรือตัด มาตรานั้นออก และส่งกลับคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร ถ้าสภาผู้แทนฯเห็นชอบด้วยกับวุฒิสภา ก็เป็นอันตกลงตามนั้น แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ต้องตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อไปพิจารณาหาข้อยุติแล้วนำกลับมาเสนอสภาแต่ละสภาอีกครั้งหนึ่ง

          2. ในการพิจารณาของสภา แบ่งการพิจารณาออกเป็น ๓ วาระ  คือ วาระที่ ๑ ในขั้นรับหลักการ ซึ่งกระทำในที่ประชุมของสภา วาระที่ ๒ คือ การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการเพื่อไปพิจารณารายละเอียดแต่ละมาตรา ซึ่งในการในชั้นกรรมาธิการนั้น อาจทำได้เป็น ๓ อย่าง คือ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งประกอบด้วยคนที่เป็นสมาชิกและคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกด้วยก็ได้ อย่างที่ ๒ คือ ส่งให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งไว้เป็นประจำอยู่แล้วพิจารณา และทางที่ ๓ คือตั้งกรรมาธิการเต็มสภา คือในที่ประชุมของสภานั้นเป็นให้ทำหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการ เป็นผู้พิจารณา  ซึ่งโดยปกติจะทำได้ก็แต่เฉพาะร่างกฎหมายสั้น ๆ ที่ไม่มีความยุ่งยาก

          3. รัฐสภาจะต้องประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะยืนยันร่างพระราชบัญญัตินั้นหรือไม่ ในการยืนยันต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภาที่มีอยู่ มิฉะนั้น ร่างนั้นก็เป็นอันตกไป

          4. คือหนังสือที่จัดพิมพ์กฎหมายและประกาศต่าง ๆ ของทางราชการที่ออกเผยแพร่เพื่อให้ประชาชนได้รู้ถึงความมีอยู่และรายละเอียดของกฎหมายและประกาศต่าง ๆ

         5.   ดูคำตอบข้อ ๒

         6.  มีหลายสิบคณะจำไม่ไหว ลองตรวจสอบไปกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนน่าจะได้ข้อมูลที่ละเอียดดี

     

     

         2.


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 กรกฎาคม 2548