ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014201 การร่างกฏหมายนารี สวนธรรม7 มิถุนายน 2548

    คำถาม
    การร่างกฏหมาย

    เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ

            ในฐานะที่ท่านอาจารย์มีประสพการณ์ในการร่างกฏหมายมามากมาย ดิฉันสงสัยอยู่ว่าปัญหาการตีความในกฏหมายในปัจจุบัน สาเหตุเกิดจากการร่างกฏหมายไม่ชัดเจนสามารตีความได้หลายแง่หลายมุม หรือเป็นเพราะคนตีความพยายามจะตีความให้ยุ่งมากขึ้นและได้ประโยชน์แก่ตนเองเท่านั้น (ดังเช่นระเบียบของ สตง.ในปัจจุบัน จะต้องประกาศในราชกิจจา ฯ หรือไม่ อย่างไร) เคยแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมเตรียมการร่างกฏหมายบ้างเหมือนกันว่าควรเขียนให้ชัดเจนและเป็นภาษาชาวบ้าน ๆ จะได้เข้าใจง่าย ๆ แต่กลับถูกท่านนักกฏหมายทั้งหลายแย้งว่าเชย ท่านอาจารย์เห็นว่าอย่างไรค้ะ

                                 ขอบพระคุณค้ะ/นารี

    คำตอบ

    เรียน คุณนารี

          ในการร่างกฎหมายนั้น ผู้ร่างย่อมต้องพยายามที่จะร่างให้ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความชัดเจนตามสมควร แต่ต้องเข้าใจว่า ถึงแม้ว่าผู้ร่างจะพยายามคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างไร แต่ก็คงทำได้ในระดับหนึ่ง ครั้นเมื่อนำกฎหมายไปใช้กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เคยเกิดขึ้นแล้วก็ดี ยังไม่เคยเกิดแต่อยู่ในความคาดการณ์ของผู้ร่างว่าจะเกิดก็ดี หรือบางทีก็เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาก่อนและไม่อยู่ในความคาดการณ์ของผู้ร่าง ถึงตอนนั้นก็ย่อมจะเกิดปัญหาขึ้นได้ว่า กฎหมายครอบคลุมเพียงใด จึงต้องอาศัยการตีความไปตามสภาพแห่งสิ่งที่เกิดขึ้น และโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม  แต่แม้กระนั้น ความคิดเห็นทางกฎหมายย่อมแตกต่างกันได้อยู่เสมอ แต่นักกฎหมายก็มักจะถูกสอนสั่งกันมาว่าเมื่อใดที่องค์กรสูงสุดวินิจฉัยอย่างไรแล้ว ย่อมจะต้องปฏิบัติไปตามนั้น ส่วนความเห็นว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็เป็นเรื่องทางวิชาการที่จะถกเถียงกันต่อไปได้ โดยไม่กระทบถึงการที่ต้องปฏิบัติไปตามคำวินิจฉัยขององค์กรสูงสุด นั้นนั่นว่าถึงกระบวนการตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรคนที่เกี่ยวข้องมีทิษฐิ ขาดความรับผิดชอบ รู้จักแต่อำนาจ สิ่งที่ควรจะเป็นก็ย่อมไม่เป็นไปตามนั้น ความสับสนจึงย่อมเกิดขึ้นได้

           การเขียนกฎหมายก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง แม้จะมีความมุ่งหมายที่จะให้คนทั่วไปเข้าใจได้ แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถเขียนอย่างหนังสือนิยาย วรรณคดี หรือบทความได้ เพราะการเขียนอย่างนั้นบางทีแทนที่จะเกิดความกระจ่าง ก็อาจเกิดความแคบกว่าที่ต้องการ หรือไกลไปกว่าที่ต้องการ หรือเกิดความสับสนยิ่งกว่าก็ได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 มิถุนายน 2548